พฤติกรรมคุ้นเคยที่ (อาจ) ทำลายสุขภาพ

พฤติกรรมคุ้นเคยที่ (อาจ) ทำลายสุขภาพ
มีหลากหลายพฤติกรรมที่ทุกคนมักทำมายาวนานจนติดเป็นนิสัยและมักทำสิ่งเหล่านี้ด้วยความเคยชินในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งบางกพฤติกรรมส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง แม้ผลร้ายจากการปฏิบัติจะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดก็ตาม แต่เมื่อมีการทำต่อเนื่องอย่างยาวนานก็จะส่งเสียต่อร่างกายในที่สุด ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีพฤติกรรมใดต่อไปนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนเพื่อผลดีต่อสุขภาพ
1 ยืน นั่ง หรือ เดินในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง : ด้วยลักษณะท่าทางที่ไม่ดีของร่างกายอาจทำให้ร่างกายที่สมบูรณ์ดูงอได้ เพราะการที่ส่วนหลังของร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดีจะสามารถทำให้กระดูสันหลังโค้ง ซึ่งโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อความมั่นคงและความสมดุลย์ของร่างกาย ความหยืดหยุ่นของหลังลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายจากกล้ามเนื้อไม่สมดุลย์

city-people-walking-blur
2 ใช้มือทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน : สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักกังวลเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานคือดวงตาจึงมักหาทางป้องกันสิ่งนี้ แต่ยังมีอีกอันตรายจากการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ คืออาการปวดและชาที่มือและนิ้ว เพราะพฤติกรรมนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือหรือ Carpal Tunnel Symdrome ซึ่งต่อให้เกิดอาการชาและเจ็บปวดที่มือในขณะทำพฤติกรรมอื่นด้วยเช่น การเขียนหนังสือ ติดกระดุม และถือโทรศัพท์
3 รับประทานอาหารมากเกินไป : การรับประทานอาหารโดยไม่หิวแต่ตามใจปากบ่อยๆ เป็นสัญญาณของการนำไปสู่การกินอาหารมากเกินไปและน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งนำมาสู่โรคหัวใจรวมทั้งโรคร้ายอื่นๆ ได้ และหากอาหารที่รับประทานบ่อยเป็นพวก Junk Food จะเป็นการนำเอาส่วนผสมมากมายที่ไม่ดีต่อสุขภาพเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมเป็นการรับประทานเมือหิว และเลือกอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น
4 ความเครียด : ความไม่พอใจจากสิ่งต่างๆ จะสร้างความเครียดแก่ร่างกายซึ่งเป็นการเพิ่มความดันโลหิต ลดภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาหารไม่ย่อย ทำให้น้ำหนักเพิ่ม และหากเกิดความเครียดเรื้อรังก็จะส่งผลต่อการนอนรวมไปถึงพฤติกรรมด้านเซ็กไปด้วย ดังนั้นหากรู้ตัวว่าเป็นโรคเครียดหรือมีอาการเครียดบ่อยจากปัญหาต่างๆ จึงควรหาวิธีเพื่อจัดการกับความเครียดหรือวิธีต่างๆ เพื่อทำให้ผ่อนคลายเช่นหลายใจลึกๆ หรือกิจกรรมที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้สุขภาพด้านต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น

pexels-photo (1)
5 ไม่รับประทานอาหารเช้า : อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเพราะให้พลังงานสำหรับการทำสิ่งต่างๆ ในวันนั้น การไม่รับประทานอาหารเช้ายังส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งในด้าน น้ำหนัก, ฮอร์โมนที่, ความจำ, การรับรู้ และอารมณ์ และเมื่อไม่รับประทานอาหารเช้ายังทำให้การเผาผลาญอาหารเริ่มช้าลงซึ่งนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและสร้างความขี้เกียจได้
6 นอนไม่เต็มที่ : การนอนไม่เต็มที่ส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน ลดความสามารถของร่างกายในการต่อสู่กับเชื้อโรค และนำไปสู่ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังเพิ่มฮอร์โมนที่เผาผลาญคาร์โบร์ไฮเดรตมากเกินไปซึ่งทำให้เกิดความเครียดและน้ำหนักเพิ่มขึ้น
7 ดื่มน้ำน้อย : หากดื่มน้ำน้อยเสมอจนทำให้ร่างกายอยู่ในสถานะขาดน้ำจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมเบื้องต้นคือเกิดความอ่อนล้า, ผิวแห้ง และสร้างเกิดความหงุดหงิดได้ง่ายซึ่งส่งผลต่อความสนใจและการทำสิ่งต่างๆ ขณะที่ผลเสียใหญ่หลวงที่ตามมาคือการทำงานของไต และภูมิคุ้มกันทำงานลดลงในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ

pexels-photo

<< Back