ร้อนหรือเย็น เลือกใช้ให้ถูก

ร้อนหรือเย็น เลือกใช้ให้ถูก
ความร้อนและความเย็นเป็นวิธีง่ายๆ และสะดวกในการใช้เพื่อลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่หลายคนยังอาจมีความสับสนอยู่ว่าความเจ็บปวดใดที่ควรใช้ความร้อนหรือความเย็นเพื่อบรรเทา รวมถึงบางคนยังอาจคิดว่าสามารถใช้ได้เหมือนกัน ซึ่งการเลือกใช้อุณภูมิที่ผิดกับอาการที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลดีต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ดังนั้นการรู้ว่าอาการใดควรใช้อุณหภูมิแบบใดจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ไม่เฉพาะต่อตนเองแต่ยังดีคนรอบข้างด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บปวดจากการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬา โดยต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับการใช้อุณหภูมิร้อนหรือเย็นกับความเจ็บปวดต่างๆ

broken-arm-1221297_1920
-อาการปวดข้อซึ่งเกิดจากความเสื่อมของข้อต่อต่างๆ ในร่างกายเช่นเข่า, ไหล่, ข้อศอก หรือข้อนิ้ว อุณหภูมิที่ร้อนจะช่วยบรรเทาอาการยึดที่เรื้อรังของข้อโดยการทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นที่แน่นคลายลง
-อาการปวดจากโรคเก๊าท์กำเริบ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและปวดตามนิ้วเท้า, เข่า ไหล่, ข้อมือ, นิ้วมือหรือส่วนต่างๆ ควรใช้น้ำแข็งเพื่อลดอาการที่กำเริบและคลายอาการอักเสบ
-ปวดศรีษะ ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทหรือหลอดเลือดในศรีษะ หรือจากกล้ามเนื้อที่คอ ควรใช้น้ำแข็งเพื่อลดอาการปวดตุบๆ ที่ศรีษะ และใช้ของร้อนเพื่อคลายอาการเจ็บปวดที่ต้นคอ
-กล้ามเนื้อฉีกเนื่องจากการยืดของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นที่กระดูก, หลัง, น่องหรือส่วนอื่นของร่างกาย ควรใช้น้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวด แล้วจึงใช้ของที่ร้อนเพื่อคลายความตึงหลังจากที่รักษาอาการอักเสบแล้ว
-อาการแพลงหรือการบาดเจ็บจากเอ็นยึดข้อ เนื่องจากการยืดหรือฉีกของเอ็นที่บริเวณข้อต่อร่างกายอย่างเข่า, ข้อศอก, เท้า หรือไหล่ ควรใช้ความเย็นลดอาการอักเสบ แล้วใช้ความร้อนเพื่อคลายความยึดเกาะลงหลังจากรักษาอาการอักเสบแล้ว
-เอ็นอักเสบ จากการกระแทกหรือใช้งานหนักเกินไปในบริเวณข้อต่อต่างๆ ขณะทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬา ควรใช้น้ำแข็งเพื่อลดทั้งอาการอักเสบและความเจ็บปวด
-อาการเจ็บปวดและยึดตัวเรื้อรังของเอ็นยึดกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อต่างๆ ควรใช้ความร้อนเพื่อให้คลายตัวหลังจากรักษาอาการอักเสบแล้ว

baseball-454559_1920

<< Back