เรื่องโอปปาติกะ กับรัชกาลที่ 6

เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งที่พระองค์ยังคงประทับอยู่ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันหนึ่งมีงานบำเพ็ญกุศล เนื่องในวันเกิด ท่านจอมพลเจ้าพระยาบดินทร์ เดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในสมัยนั้น ซึ่งล้นเกล้าฯรัชการที่ 6 ก็จะต้องไปในงานนี้ด้วย การแต่งพระองค์ในวันนั้นต้องทรงเครื่องยศทหารรักษาวัง เพียงครึ่งยศ เพราะเจ้าพระยาบดินทร์ เดชานุชิตเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารรักษาวัง และยังเป็นงานแบบสโมสรกลางแจ้ง

งานในวันนี้มีข้าราชบริพาร สมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ เตรียมโดยเสด็จอย่างพรั่งพร้อม เมื่อได้เวลาเสด็จพระราชดำเนิน พระองค์ก็ได้เสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง ณ ทหารเรือ ทหารม้า ทหารราบทั่วไปและตำรวจ จะต้องมายืนรับเสด็จอยู่ริมรถพระที่นั่งตามอย่างราชประเพณีเป็นปกติ และยังมีราชองครักษ์เวรสมทบราชองครักษ์ประจำ ซึ่งมีพันโทพระยาสรชาติ โยธี พันตรีหลวงอาจหาญณรงค์ นาวาโทหลวงสวัสดิ์ นาวายุทธ ร้อยเอกหลวงวรภักดิ์ภูบาล และนายพันตำรวจโทหลวงอภิบาลนครเขตต์

นอก จากพระองค์จะทอดพระเนตรเห็นบุคคลเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ก็ยังทอดพระเนตรเห็น “พันเอกจมื่นฤทธิ์รณจักร” ผู้บังคับกองพันทหารรักษาวังแต่งตัวเต็มยศมายืนอยู่ด้วยในหมู่ราชองครักษ์ โดยสวมหมวกแบบนโปเลียนและมีปลอกคอ ปลอกข้อมือใช้กระบี่แบบไทยหัวเป็นพญานาค พระองค์ทรงตรัสเล่าให้มหาเล็กคนสนิทคือนายรองเล่ห์อาวุธ หรือ “จมื่นมานิตย์นเรศร์” ฟังว่า เมื่อทอดพระเนตรเห็นก็ทรงฉงนพระราชหฤทัยเหมือนกันว่าทำไม “จมื่นฤทธิ์รณจักร” จึงแต่งกายเต็มยศ แต่ก็มิได้ออกพระโอษฐ์กับใคร แม้กระทั่งสมุหราชองครักษ์ทีโดยเสด็จฯ ไปในรถพระที่นั่งนั้นด้วย

เมื่อ เสด็จฯมาถึงงานก็ทรงมีพระราชภาระที่จะต้องพระราชทานน้ำสังข์และทรงเจิม ต้องพระราชทานประคำทองคำกับแหวนนพเก้าเป็นพิเศษตามอย่างโบราณราชประเพณีให้ แก่เจ้าพระยานาหมื่นชั้นแม่ทัพนายกองเป็นของขวัญและยังทรงมีพระราชภาระ ทีจะต้องพระราชทานพระบรมราโชวาทในงานเลี้ยง เมื่อทรงพระราชทานพรและทอดพระเนตรงานมหรสพจนเสร็จงานก็เป็นเวลาเกือบตีสาม จึงเสด็จกลับพระตำหนัก

กระทั่ง ถึงตำหนักที่ประทับ ณ วังสวนจิตรลดา ก็จะเสด็จเข้าห้องแต่งพระองค์แต่ก่อนจะถึงห้องแต่งพระองค์ได้เสด็จผ่านห้อง โถง และได้ทอดพระเนตรเห็นพานกะไหล่ทอง ซึ่งบนพานใบนั้นมีธูปกระแจะขนาดใหญ่กับเทียนไส้ใหญ่อย่างละ 1 เล่ม แบบเผาศพ พร้อมด้วยกระทงดอกไม้ตั้งอยู่ และยังมีข้อความเขียนไว้ว่า “ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า จมื่นฤทธิ์รณจักร ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายบังคมลาไปปรโลก”

สิ่ง ที่นำมาถวายและข้อความที่เขียนไว้นี้ เป็นแบบอย่างการถวายบังคมทูลลาตายของพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร ซึ่งทรงรู้จักคุ้นเคย โดยครอบครัวผู้ตายจะจัดขึ้นทูลเกล้าฯถวาย จากนั้นพระองค์ก็จะโปรดเกล้าฯให้มหาดเล็กรับใช้หรือ มหาดเล็กห้องที่พระบรรทม นำไปจุดบูชาที่หอพระ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นดังนั้นนก็ให้ฉงนในพระราช หฤทัยไม่ใช่น้อย จึงโปรดฯให้มหาดเล็กเวรเชิญพระราชกระแสไปสอบถาม เพื่อให้แน่แก่พระทัยที่บ้านจมื่นฤทธิ์รณจักร มหาดเล็กก็กลับมาถวายบังคมทูลพระกรุณาว่า “จมื่นฤทธิ์รณจักรถึงแก่กรรมแล้วเมื่อเช้านี้และในตอนเย็นก็ได้รับพระราชทาน น้ำหลวงอาบศพ ทางครอบครัวได้แต่งตัวศพด้วยเครื่องเต็มยศทั้งชุดของทหารรักษาวัง”

เมื่อ ความได้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเช่นนั้น พระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัย และเสียดายจมื่นฤทธิ์รณจักร เป็นอย่างมาก ถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “จมื่นฤทธิ์รณจักร แกรักฉัน อุตส่าห์นำวิญญาณในเครื่องแบบเต็มยศมาลาฉัน”

“จมื่น ฤทธิ์ รณจักร” ผู้นี้ เป็นนายทหารที่มีตำแหน่งเป็นถึงผู้บังคับกองพันทหารรักษาวัง และราชองครักษ์ เป็นนายทหารที่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงโปรดปรานสนิทสนมด้วยเป็นอย่างมาก ดังนั้นในงานศพของนายทหารท่านนี้ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นค่าจัดงานศพตลอดงานนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ ครอบครัวจมื่นฤทธิ์รณจักรสุดคณานับ

เรื่องนี้จัดเป็นเรื่องที่เชื่อ ถือได้ เพราะผู้เล่าคือจมื่นมานิตย์นเรศร์มหาดเล็กคนสนิทในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ซึ่งได้เล่าไว้ในรายการรอบเมืองไทยทางวิทยุ ท.ท.ท. ออกอากาศเมื่อหลายสิบปีก่อน