กิจการบางประเภทอาจมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก หรือ ประสบปัญหาไม่สามารถจ้างแรงงานไทยได้ แรงงานต่างด้าวจึงเป็นทางออกหนึ่งของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในสถานประกอบการอย่างถูกกฎหมาย จำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆที่กฎหมายกำหนด โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1. การจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกกฎหมายตามข้อตกลง (MOU)
2. การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
การจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกกฎหมายตามข้อตกลง (MOU)
ขั้นตอนที่ 1 การแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว(โควตา)
- นายจ้าง/สถานประกอบการ ยื่นแบบความต้องการจ้างคนต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่(สจก.) 1-10 หรือ สำนักงานจังหวัด(สจจ.) ณ สถานที่ทำงานที่คนต่างด้าวจะเดินทางไปทำงาน ยกเว้น กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลในกิจการก่อสร้างให้ขอโควตาที่สำนักงานใหญ่เท่านั้น
- นายจ้าง/สถานประกอบการ เมื่อได้รับอนุญาตให้จ้างคนต่างด้าวได้ กรมการจัดหางานจะออกหนังสือยืนยันการมีโควตาจ้างแรงงานต่างด้าว
ขั้นตอนที่ 2 การยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
- นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ได้รบโควตาจ้างคนต่างด้าว ให้ยื่นเอกสารต่อไปนี้ พร้อมสำเนา 3 ชุด(รวมเป็น 4 ชุด) ณ สจก. หรือ สจจ. ที่ได้ยื่นขอโควตาไว้ ดังนี้
- คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามบันทึกความเข้าใจ (MOU
• สำเนาหนังสืออนุญาตให้จ้างคนต่างด้าว (สำเนาโควตา)
• หนังสือแสดงรายละเอียดความต้องการแรงงาน (Demand Letter) ระบุเงื่อนไขรายละเอียดในการทำงานตามแบบที่กำหนด
• หนังสือแต่งตั้ง (Power of Attorney) ที่แต่งตั้งให้บริษัทจัดหางานในประเทศต้นทางดำเนินการจัดหาคนงานให้ (นายจ้าง/สถานประกอบการไทยต้องเป็นผู้ติดต่อประสานงานโดยตรงด้วยตนเอง)
• ตัวอย่างสัญญาจ้างมาตรฐาน (Employment Contract)
• กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นสำเนาหนังสือการจดทะเบียน สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
- สจก. หรือ สจจ. ส่งเอกสารที่ผ่านการรับรองแล้วให้กรมการจัดหางานจำนวน 2 ชุด โดยจ้างเก็บรักษาไว้ จำนวน 1 ชุด
- กรมการจัดหางาน รวบรวมหลักฐาน พร้อมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยและเสนอกระทรวงแรงงานเพื่ออกหนังสือแจ้งให้กระทรวงแรงงานของประเทศต้นทางทราบ
- กรมการจัดหางาน ส่งเอกสารให้กับสถานทูตของประเทศต้นทาง เพื่อให้ สถานทูตของประเทศ ต้นทางจัดส่งเอกสารไปยังกระทรวงแรงงานของประเทศตนเอง
- กระทรวงแรงงานของประเทศต้นทาง จะดำเนินการแจ้งให้บริษัทจัดหางานในประเทศของตนรับเรื่องไปดำเนินการจัดหาคนงาน
- เมื่อบริษัทจัดหางานในประเทศต้นทางจัดหาคนงานได้แล้ว จะจัดทำบัญชีรายชื่อของคนงานให้กระทรวงแรงงานของประเทศต้นทางประทับตราและลงนามรับรอง ก่อนจัดส่งมาให้แก่นายจ้างสถานประกอบการของไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว
- เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการได้รายชื่อคนต่างด้าวที่ผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการแล้ว ให้นำรายชื่อและหนังสือของนายจ้างระบุด่านพรมแดนที่คนต่างด้าวจะเดินทางผ่านมายื่น พร้อมคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามแบบ ตท.15 ณ สจจ. ที่สถานที่ทำงานของคนต่างด้าวตั้งอยู่ ส่วนในเขตกรุงเทพฯให้ยื่นเอกสาร ณ กองการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีเอกสารประกอบ ได้แก่
- บัญชีรายชื่อ (Name List) ตามที่ประเทศต้นทางออกให้และรับรองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงแรงงานประเทศต้นทาง
• คำขอ ตท.15 จัดทำเป็นรายบุคคลของคนต่างด้าว
• รูปถ่ายของคนต่างด้าว ขนาด 2.5*3 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน เขียนชื่อของคนต่างด้าวด้านหลังทุกรูป
• สำเนาหนังสือยืนยันการมีโควตา
• ค่าธรรมเนียมการยื่นขอฉบับละ 100 บาท
- สำนักงานจัดหางานจังหวัด ส่งบัญชีรายชื่อให้แก่กรรมการจัดหางาน
- กรมการจัดหางาน ดำเนินการแจ้งสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศต้นทางและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบ เพื่อดำเนินการออกวีซ่าและอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้
ขั้นตอนที่ 4 การออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
- บริษัทจัดหางานในประเทศต้นทางนำคนต่างด้าวยื่นขอรับการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย ณ สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทย ที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศต้นทางซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับการประทับตรวจลงตรา (Non-Immigrant Visa L-A) ตามที่กรมการจัดหางานแจ้งประสานไป
- เมื่อคนต่างด้าวได้รับวีซ่าเข้าประเทศไทยเพื่อการทำงาน และเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย 2 ปี จากนั้น นายจ้างจะต้องพาคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพใน 3 วัน โดยนายจ้างควรประสานงานกับโรงพยาบาลและนัดหมายล่วงหน้า พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- คำร้องขอรับใบอนุญาตการทำงาน
• สำเนาหนังสือแจ้งผลการขอรับใบอนุญาตทำงาน
• หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
• ใบรับรองแพทย์
- คนต่างด้าวที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน จะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานตามระยะเวลาที่คนต่างด้าวขออนุญาตทำงาน แต่ไม่เกินหนึ่งปีจำนวนเงินปีละ 1,800 บาท
- นายจ้าง/สถานประกอบการในจ่างจังหวัดยื่นเอกสาร ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ส่วนนายจ้าง/สถานประกอบการในกรุงเทพฯจะต้องยื่นเอกสาร ณ กองการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนัดนายจ้างนำคนต่างด้าวมาดำเนินการจัดทำใบอนุญาตทำงาน พร้อมนัดวันรับใบอนุญาตทำงานรวมทั้งคนต่างด้าวต้องชำระค่าธรรมเนียมตามระยะเวลาที่ขออนุญาตทำงานแต่ไม่เกินหนึ่งปีเช่นกัน
การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เพื่อให้การจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างถูกกฎหมาย นายจ้างจะต้องจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งในแต่ละปีกรมการจัดหางานจะประกาศให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในช่วงเวลาที่กำหนด โดยมีขั้นตอนและหลักฐานประกอบ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 แจ้งจำนวนคนต่างด้าว
นายจ้างแจ้งจำนวนคนต่างด้าวต่อเจ้าหน้าที่ สจก. หรือ สจจ. ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และขอรับแบบคำร้องขอจ้างคนต่างด้าวและแบบ ท.ต.1 ฉบับจริง หรือดาวน์โหลดที่ www.doe.go.th จากนั้นยื่น คำร้องขอจ้างคนต่างด้าวพร้อมหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะได้รับสำเนาแบบคำร้องขอจ้างคนต่างด้าว 2 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นคำร้องของจดทะเบียนประวัติคนต่างด้าวและการขอนัดตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีเอกสารประกอบ ได้แก่
- แบบคำร้องขอจ้างคนต่างด้าว พร้อมสำเนา 2 ชุด
• สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง (บุคคลธรรมดา)
• เนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (นิติบุคคล)
• แบบ ท.ต.1 ฉบับจริง ติดรูปถ่ายคนต่างด้าว ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
• สำเนาแบบ ท.ต.1 ของคนต่างด้าว คนละ 2 ชุดตามจำนวนที่ได้แจ้งไว้
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าว
นายจ้างยื่นแบบ ท.ต.1 และหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนจังหวัด/สำนักทะเบียนกรุงเทพ ซึ่งจะได้รับส่วนที่ 3 ของแบบ ท.ต.1 เพื่อใช้เป็นหลักฐานพาคนต่างด้าวไปทำประวัติ และนำส่วนที่ 3 ของแบบ ท.ต.1 ฉบับสำเนา พร้อมสำเนาแบบคำขอร้องขอจ้างคนต่างด้าวไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อนัดตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ซึ่งมีเอกสารประกอบ ดังนี้
- แบบ ท.ต.1 ฉบับจริง ติดรูปคนต่างด้าวขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
• สำเนาแบบคำร้องขอจ้างคนต่างด้าวที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ สจก. หรือ สจจ.
• บัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้างพร้อมสำเนา
• ทะเบียนบ้านของนายจ้างพร้อมสำเนา
ขั้นตอนที่ 3 ขอนัดตรวจสุขภาพและประกันต่างด้าว
นายจ้างยื่นหลักฐานเพื่อขอนัดตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล พร้อมชำระเงินค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ซึ่งจะได้รับใบนัดตรวจสุขภาพในการนำคนต่างด้าวไปตรวจตามวันเวลาที่กำหนด จากนั้นนำใบนัดตรวจสุขภาพและหลักฐานไปยื่นขออนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวกับเจ้าหน้าที่ สจก. หรือ สจจ. ต่อไป โดยขั้นตอนนี้มีเอกสารประกอบ ได้แก่
- สำเนาแบบคำร้องขอจ้างครต่างด้าวที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ สจก. หรือ สจจ.
• สำเนาแบบคำร้องขอจดท้เบียนประวัติคนต่างด้าว (สำเนาแบบ ท.ต.1)
• ส่วนที่ 3 ของแบบ ท.ต.1 ฉบับจริงพร้อมสำเนา
• ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาท ค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท
ขั้นตอนที่ 4 ยื่นคำขออนุญาตทำงาน
นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นแบบคำขอ ตท.8 พร้อมหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ สจก. หรือ สจจ. โดยชำระค่ายื่นคำและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเมื่อยื่นขออนุญาตทำงานแล้วจะได้รับใบเสร็จรับเงินและใบรับคำขอ ตท.8 เป็นหลักฐานในการพาคนต่างด้าวไปจัดทำ Bio Data เก็บภาพใบหน้าและพิมพ์ลายนิ้วมือที่ สจก. หรือ สจจ. ตามวันเวลาที่กำหนดนัด โดยขั้นตอนนี้มีเอกสารประกอบ ได้แก่
- ให้นำคนต่างด้าวไปแจ้งออกหรือแจ้งการเลิกจ้างที่กรมจัดหางาน ภายใน 15 วัน หลังจากคนต่างด้าวย้ายออกจากงานหรือหลบหนีออกจากบ้าน/สถานประกอบการ
- ต่างจังหวัด : แจ้งที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด
• กรุงเทพฯ : แจ้งที่กองการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว
- คนต่างด้าวต้องคืนใบอนุญาตทำงานแก่เจ้าหน้าที่
- นายจ้างนำคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศ โดยแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่งที่ด่านชายแดนไทย
Back