3 นิสิตสุดเจ๋ง จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สามารถคว้ารางวัลทุนการศึกษาด้านศิลปะ กองทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ จากการเข้าร่วมกิจกรรมประกวด ‘เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน’
(1) แจน-พิชชาพร เกษหอม
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาจิตรกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อผลงาน : Woman
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน : Concept งาน “ผู้หญิงในความรู้สึกที่ข้าพเจ้ามองเห็น” ได้แรงบันดาลใจมาจากที่ในสังคมปัจจุบันหรือในอดีต ผู้หญิงถูกจัดลำดับความน่าสนใจ ความสำคัญให้ลดลง โดยให้ค่าในความงามเป็น Sex Symbol มากกว่าทักษะ ความคิด ความสามารถ ถูกกำหนดให้เป็นเพศที่อ่อนแอ เป็นผู้ตาม ในบางครั้งผู้หญิงจึงถูกซ้อนเร้นบทบาทความสำคัญในสังคม ความเกิดเหลื่อมล้ำทางเพศ ทำให้เกิดแนวคิดคตินิยม หรือที่เรียกว่า Feminism ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรี จึงได้หยิบยกความไม่เท่าเทียมกันในเพศหญิงขึ้นมาเป็นแกนหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านรูปทรงดอกไม้ และ Figure ผู้หญิง และความรู้สึกที่เรามองเห็น ใช้สีที่ให้ความรู้สึกรุนแรง ผ่านขบวนการ Painting
จุดเด่นของผลงาน : อยู่ที่การใช้สีที่ตัดกัน สีที่ให้ความรู้สึกต่างๆ และ Texture ที่เรา ใช้ ผงแคลเซียมคาร์บอเนต มาผสมกับสีน้ำมันทาบ้าน ทำให้เนื้องานมีความนู้น จับเป็นก้อน เป็น Texture พิ้นผิวที่มีความต่างกัน และให้ความรู้สึกถึงความแน่นของเนื้อสี และการแสดงอารมณ์ผ่านการป้ายป้าดสีในแต่ล่ะส่วนของงาน
ความยากง่าย อุปสรรคต่างๆ : ความยากของงานนี้คงเป็นหัวข้อหลักที่เราลงประเด็นพูดถึงเรื่อง Feminism ซึ่งข้อมูลมีความหลากหลายและกว้างกว่าที่เราคิดไว้ เราเลยแก้ปัญหาโดยการ พยายาม Scope ให้แคบลงจับประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวเพื่อที่ไม่ทำให้งานเราดูไกลตัว เลยเลือกแสดงความรู้สึกในมุมมองจากตัวเราแล้วค่อยต่อยอดข้อมูลที่เราค้นคว้ามา ในงานทำงานขึ้นมาหนึ่งชิ้น เราจำเป็นต้องทำ Sketch จำนวนหลายชิ้น เพื่อที่จะนำงาน sketch ที่ดีที่สุดมาทำงานชิ้นใหญ่ ก็เลยเกิดปัญหาขึ้นมาว่า เราคิด sketch ไม่ออก ก็แก้ปัญหาจาก Sketch มือ ใช้สีน้ำ เปลี่ยนมาใช้โปรแกรม Photoshop หาข้อมูลภาพจากในอินเตอร์เน็ต หรือบางส่วนที่เราถ่ายเอง นำมาไดร์คัท ด้วยวิธีการ Collage จนพอใจ ซึ่งเป็นวิธีที่เราคิดว่าสามารถขยายไอเดียในส่วนที่เราต้องการได้
ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจ : สำหรับการเรียนศิลปะ เราไม่ได้อาศัยแค่ความชอบเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องอาศัยทั้ง ความรักความเชื่อในสองสิ่งนี้ด้วย เราต้องถามตัวเองก่อนว่า สิ่งที่เราเลือก คือสิ่งที่เราต้องการแล้วจริงๆ เหรอ โลกศิลปะยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอไม่มีวันจบสิ้น แต่ถ้านี่คือความฝันของเราก็จงออกไปคว้ามัน
(2) พรปวีณ์ ภู่แดง
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาภาพถ่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อผลงาน : ศิวิไลซ์ระบาด (The scourge of civilized society)
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน : สมัยนี้มักจะถูกเรียกว่าเป็นยุคแห่งอิทธิพลจากการเสพติดเทคโนโลยีตลอดจนสื่อ Midia ต่างๆ จึงทำให้เกิดจินตนาการว่า หากยุคสมัยนั้นเทคโนโลยี ก้าวกระโดดและเข้าถึงง่ายเหมือนสมัยปัจจุบัน ความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยก่อนจะเป็นภาพเช่นไร
จุดเด่นของผลงาน : เป็นการย้อนให้เกิดคำถามถึงความเป็นอดีตและปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งความเหมือนและความต่างที่ทับซ้อนกันอยู่ สื่อภาพถ่ายก็เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งซึ่งสำหรับเราพอกดถ่าย ภาพนั้นมันก็เป็นภาพของอดีตไปแล้วเหมือนกัน จุดที่ต้องการให้ผู้ชมนึกถึงเวลาเห็นงานนี้ คือ เราต้องการในผู้ชมตีความกับภาพโดยไม่ต้องตรงกับแนวคิดเราก็ได้ ชุดไทยแบบนี้ ถ้าไม่ใช่หน้าเทศกาลลอยกระทงหรือหนังพีเรียตก็ไม่ใช่สิ่งคุ้นตาในชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี เวลามันอยู่ด้วยกันมันมีความผิดที่ผิดทางอยู่ เป็นการกระตุ้นผู้ชมให้เกิดการจินตนาการและตั้งคำถาม
ความยากง่าย อุปสรรคต่างๆ : ความยาก คือ การตีโจทย์ตัวเองให้แตก ปกติเวลาคิดงานอะไร เป็นคนคิดซับคิดซ้อน กว่าจะตัดทอนความคิดให้เหลือแต่ประเด็นที่ต้องการจริงๆ ก็จะต้องใช้เวลา แต่ต้องยอมหน่อย เพื่อป้องกันการหลงประเด็น
ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจ : การหาว่าตัวเองชอบอะไรไม่ได้ ไม่น่ากลัวเท่าการไม่ได้ทดลองทำสิ่งที่เราสนใจ ถ้าน้องๆ สนใจในคณะทางศิลปะไม่ว่าสาขาไหน การทดลองทำและให้เวลากับมันเป็นเรื่องสำคัญ อาจจะต้องเหนื่อย ต้องใช้ความพยายาม เพราะน้องจะเจอทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ แต่ถ้าน้องอยากอยู่กับมันจริงๆ น้องจะรู้สึกถึงความสุขที่ปนมากับความเหนื่อยจากการทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ ซึ่งสิ่งที่เราพูดมามันเหนือไปกว่าพรสวรรค์ที่ติดตัวมากตั้งแต่เกิด เราเชื่อว่าความมุ่งมั่นและตั้งใจของน้องๆ มีค่ามากกว่าความโชคดี
(3) สุภัสสรา เล่ห์ประเสริฐ
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรม ภาควิชาทัศนศิลป์ เอกประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อผลงาน : SUNSHINE CASTUS
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน : เป็นช่วงที่ต้นกระบองเพชรฮิตในสังคมวัยรุ่นในการปลูกต้นกระบองเพชร จึงอยากลองศึกษาเกี่ยวกับต้นกระบองเพชรในสายพันธุ์ต่างๆ ได้รู้ว่ามันมีสายพันธุ์มากมายที่เกิดขึ้น และมีองค์ประกอบของแต่ละสายพันธุ์ที่ให้ความรู้สึกว่า มันมีความสดใสมากๆ ไม่ได้แห้งแร้ง จึงอยากจะเสนอลักษณะของต้นกระบองเพชรในมุมมองของตัวเอง เน้นการใช้สีที่สดใส และได้นำรายละเอียดเล็กๆ ของบางสายพันธุ์เข้ามาใส่เข้าไปด้วย จัดวางแบบเป็นกลุ่มคล้ายต้นกระบองเพชร
จุดเด่นของผลงาน : จุดเด่น คือ สีที่สดใส อยากให้คนอื่นๆ มองแล้วรู้สึกว่า นี่เป็นต้นกระบองเพชรที่น่ารักและสดใส มีชีวิตชีวา
ความยากง่าย อุปสรรคต่างๆ : ยากที่การเลือกใช้สีที่จะทำให้รู้สึกถึงความสดใส เพราะแนวคิดงานนั้น ต้องการที่จะสื่อถึงความสดใสของต้นกระบองเพชรออกมา และในการใช้สีที่มีความสดใสเยอะๆ จะเป็นปัญหาในเรื่องของสีที่ไม่เข้ากัน ก็จะต้องแก้ปัญหาในการดูคู่สีให้เข้ากัน ลองทาเป็นตัวอย่าง จนได้สีที่ต้องการจริง
ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจ : น้องๆ ที่จะเข้าคณะนี้ และภาควิชานี้ ถ้าเรามีความขยัน ความพยายาม และความรับผิดชอบต่องานและเวลาได้ เราก็ไม่ต้องกังวลแล้วกับการใช้ชีวิตอยู่ในคณะนี้ ขยันฝึกฝนเยอะๆ เชื่อสิว่าผลมันดีกว่าที่น้องคิดอีก
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา