ภาควิชาวัสดุศาสตร์ เกษตรศาสตร์ VS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ถือเป็นภาควิชาพรีเมียมอีกหนี่งสาขา ที่มีมหาวิทยาลัยเปิดสอนไม่มากนัก และแน่นอนว่าเป็นสายที่เมื่อเรียนจบแล้วมีอาชีพรองรับอย่างแน่นอน ฉบับนี้ Campus Battle ลองมาดู คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย VS มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กันบ้างจะน่าสนใจขนาดไหน?

 

(จุฬาฯ)
จุดเด่นการเรียนการสอน
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี โดยภาควิชาวัสดุศาสตร์เน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางวัสดุศาสตร์ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ เซรามิกส์ และสิ่งทอ ซึ่งภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ ได้อยู่คู่ประเทศไทยมาเป็นเวลา 55 ปี แล้ว ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่อยมา เพื่อให้วิชาการด้านนี้ได้มีความก้าวหน้า และเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคนิคและอุตสาหกรรม ทั้งเน้นในเรื่องการเรียนการสอนด้วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เอื้อต่อการผลิตและการค้า มีเนื้อหาความรู้ของรายวิชาที่ทันสมัย สอนโดยคณาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาโดยตรง รวมทั้งส่งเสริมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และตรงต่อความต้องการของตลาด เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการใช้งานวัสดุ


อาชีพที่สามารถต่อยอดได้
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาต้องสามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเป็นพื้นฐานการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้ โดยสามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย เช่น ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานวิจัย ของภาครัฐและเอกชน ทั้งอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า อยู่ในฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุม ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
(http://www.matsci.sc.chula.ac.th/joomla3/index.php/th, http://www.prm.chula.ac.th/sci.html, )

(เกษตรฯ)
จุดเด่นการเรียนการสอน
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ทางเคมีและฟิสิกส์ การพัฒนางานวิจัยครอบคลุมตั้งแต่การสังเคราะห์ในระดับโมเลกุล จนถึงการขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน รวมทั้งการวิเคราะห์ทั้งในระดับจุลภาคถึงมหภาค และต่อยอดไปถึงการใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม โดยมีปณิธานที่มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิทยาการวัสดุนาโน ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งกอรปด้วยจริยธรรมและคุณธรรม ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้กว้างทันต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ จากการที่วิทยาการทางด้านวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตวัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโนสำหรับการใช้งานในด้านต่างๆ อาทิ การผลิตวัสดุโลหะ สารกึ่งตัวนำ เซรามิค วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์และคอมพอสิท เพื่อนำไปใช้ในงานด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ตรวจวัดทางการแพทย์และการเกษตร เซลล์เชื้อเพลิง เซลล์แสงอาทิตย์ การเคลือบผิว ตัวเร่งปฏิกิริยา ฯลฯ


อาชีพที่สามารถต่อยอดได้
งานที่เกี่ยวกับวัสดุกำลังเป็นที่ต้องการทั้งในภาครัฐและเอกชน บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาวัสดุศาสตร์สามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน และทางอุตสาหกรรม
(http://www.mat.sci.ku.ac.th, FB : MatSciKU และ SciActivity, connect.rabbit.co.th)

 

 




SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา