สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ ในฐานะ ”ผู้ให้เช่า”

week3-content1

สมัยนี้การปล่อยอสังหาฯให้เช่าทั้งบ้าน คอนโด ตึกแถว มีมากมาย ถ้าตอนนี้คุณเองก็กำลังจะก้าวเข้ามาเป็น ผู้ให้เช่า ละก็ มาดูข้อกฏหมายน่าสนใจ และควรรู้ไว้ เมื่อคุณเป็น เจ้าของบ้านเช่า กันดีกว่า อะไรบ้างที่ควรทำ และอะไรที่ไม่ควรทำ ในขอบเขตของการเป็น ผู้ให้เช่า

ควรทำ To Do..

ทำสัญญา

การเช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกฏหมายกำหนดให้ทำสัญญาขึ้นมาอย่างชัดเจน โดยที่สัญญาเช่าระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี ต้องทำสัญญาเช่าระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า แต่หากต้องการเช่าพื้นที่มากกว่า 3 ปีนั้นจะต้องทำหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนรักตั้งแต่อนุบาล หรือ ญาติสนิท การทำสัญญานั้นเป็นทั้งข้อผูกมัดที่พึ่งมีประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายผู้ให้เช่า และ ผู้เช่า ทำเถอะครับ จะได้เป็นเป็นปัญหาภายหลัง

 

สกรีนคนเข้าอยู่สักนิด

ในฐานะเจ้าของบ้านเช่า ที่กำลังจะให้เช่าอสังหาฯที่เป็นของคุณนั้น การสกรีนตรวจสอบผู้เช่านั้นเป็นเรื่องฉลาดที่น่าทำ เพราะหากผู้เช่าของคุณเป็นผู้ร้ายหนีคดี หรือ ต่างชาติที่เข้ามาอย่างผิดกฏหมาย ละก็ คุณอาจจะมีความผิดในการให้ที่พักพิงกับ คนเข้าเมืองผิดกฏหมาย หรือ ผู้ร้ายหนีคดีไปได้

 

 

ระบุจุดประสงค์ในการเช่าให้ชัดเจนในสัญญา

เมื่อคุณจะปล่อยให้เช่า บ้าน หรือ คอนโด คุณควรที่จะระบุในสัญญาให้ชัดเจน ว่า เป็นการเช่าเพื่อ พักอาศัย เท่านั้น เพราะหากผู้เช่าใช้บ้านเช่าของคุณทำสิ่งที่ผิดต่อกฏหมายขึ้นมา คุณก็ยกเลิกสัญญาได้เพราะผู้เช่าทำผิดสัญญา และผู้เช่าก็ไม่สามารถจะเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ให้เช่าได้ แต่หากเป็นการให้เช่าแบบ สัญญาใจ ไม่ได้ระบุเอาไว้ ถ้ารู้เห็น ความผิดปกติ ไม่ชอบมาพากล ก็ต้องแจ้งความป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อนเลย

ไม่ควร Do not..

เข้าบ้านมาโดยพลการ  

หากคุณในฐานะเจ้าของบ้านเช่าเข้ามาในบ้านโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ หรือ ไขประตูเข้ามาในบ้านโดยที่ผู้เช่าไม่อยู่เจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่านั้น อาจจะทำผิดต่อข้อกฏหมายได้ เพราะแม้ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน แต่เมื่อมีสัญญาการเช่าอยู่นั้น ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิรบกวนการครอบครอง เพราะผู้เช่ายังมีสิทธิครอบครองอยู่ ถ้ารบกวนการครอบครองมีความผิด ดังนั้น ผู้ให้เช่าควรมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 1-2 วัน ก่อนการเข้าบ้านเช่า เว้นเสียแต่เป็นการเข้าไปซ่อมแซมใหญ่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

 

เปลี่ยนข้อกำหนดในสัญญา กลางคัน โดยไม่ได้มีการเซ็นชื่อลงรับรู้

หากมีการแก้ไขใดๆ ในสัญญา ทั้งผู้เช่า และ ผู้ให้เช่าต้องเซ็นกำกับรับรู้จากแก้ไขนี้ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิในการแก้ไขข้อสัญญาโดยไม่มีการบอกอีกฝ่ายล่วงหน้า หรือแก้ข้อกำหนดในสัญญาโดยพลการหลังมีการเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว อาจจะเข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสารได้

 

ยึดบ้านคืน เปลี่ยนล็อคประตู ย้ายของออก โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า

สำหรับผู้ให้เช่าหลายคน อาจจะเคยประสบปัญหาคลาสสิกที่ผู้เช่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย แต่วิธีแก้ปัญหา ไม่ใช่ว่า เจ้าของบ้าน จะสามารถเข้าบ้านไปยกของผู้เช่าออกมา หรือ เอาโซ่มาล็อคประตู ไม่ให้เข้าหรือออกบ้านได้นะ เพราะเจ้าของบ้านจะมีความผิดทางกฏหมายแน่นอน เว้นเสียแต่มีการรับรู้ระหว่างสองฝ่ายลงลายลักษณ์อักษรในสัญญา ว่า "หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าหรือผิดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที และใช้สิทธิครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที"  ไม่เช่นนั้น หากผู้เช่าไม่จ่ายเงินค่าเช่าตามกำหนดในสัญญา ผู้ให้เช่าต้องบอกเลิกสัญญาก่อน อย่างน้อย 15 วัน ฟ้องเรียกค่าเสียหาย หากผู้เช่ายังไม่ออก ต้องทำการฟ้องขับไล่ต่อไป ให้ใช้อำนาจศาลในการขับไล่แทน

 

ไม่ซ่อมแซ่มใหญ่ในทรัพย์สินที่ให้เช่า

แม้ว่าในฐานะ ผู้ให้เช่า จะไม่ได้เข้าไปใช้งานในบ้านเช่า แต่หากมีการเช่าเกิดขึ้นแล้ว ผู้ให้เช่ายังต้องมีหน้าที่ ที่จะบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านระหว่างที่ให้เช่าอยู่ด้วย ผู้เช่าอาจจะออกเงินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมก่อน และอาจเรียกเก็บจากผู้ให้เช่าได้ภายหลัง เว้นแต่เป็นการซ่อมแซมเล็กน้อย แต่สำหรับการซ่อมแซมใหญ่ๆ ที่มีความจำเป็นในการอาศัยเช่าอยู่ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ที่จะต้องออกเงินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม

 

การทำสัญญาใดๆ การอ่านและลงสัญญาให้ละเอียด ศึกษาข้อกฏหมายเล็กน้อย ก่อนลงนาม จะเป็นทั้งประโชน์แก่ตัวคุณเอง และจะทำให้เข้าใจในหน้าที่ และ ความรับผิดชอบในตัวสัญญาได้นะคะ

 

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา