บริษัทจะเรียกเงินค้ำประกันการทำงานได้หรือไม่

บริษัทจะเรียกเงินค้ำประกัน

 

ในสมัยก่อนนี้เมื่อบริษัทจะรับคนเข้าทำงานไม่ว่าจะตำแหน่งใดก็มักจะมีแนวคิด ว่าพนักงานที่เข้ามาทำงานนั้นอาจทำงานไปแล้วก่อให้เกิดความเสียหายให้กับ บริษัทได้ เช่น พนักงานเก็บเงินจากลูกค้าเงินเชื่อ, แคชเชียร์ หรือแม้แต่พนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านเงิน ๆ ทอง ๆ ของบริษัทเช่น พนักงานที่ทำงานในฝ่ายผลิตอาจจะประมาทเลินเล่อทำให้เครื่องจักร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ของบริษัทเสียหาย จึงมีการเรียกเก็บเงินค้ำประกันความเสียหายเกิดขึ้นและในบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะถือปฏิบัติตามอย่างกันมาเนิ่นนาน

โดยวิธีปฏิบัติก็คือ การให้พนักงานเข้าใหม่นำเงินสดมาฝากไว้ที่บริษัทเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำ ประกันความเสียหายจำนวนมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ว่าบริษัทไหนจะกำหนดไว้เท่า ไหร่ เช่น บางบริษัทกำหนดไว้คนละ 3,000 บาท หรือ 5,000 บาท ซึ่งพนักงานใหม่ก็ต้องขวนขวายหาเงินมาวางค้ำประกันให้กับบริษัท หากยังหามาให้ไม่ได้ก็อาจจะมีผลทำให้บริษัทพิจารณาไม่ผ่านทดลองงานหรือไม่ บรรจุเป็นพนักงานประจำ หรืออาจมีผลอื่น ๆ ตามมาแล้วแต่ว่าบริษัทจะเขียนกฎระเบียบไว้อย่างไร

เมื่อบริษัทได้รับเงินค้ำประกันจากพนักงานมาแล้วจะทำยังไงล่ะครับ วิธีง่าย ๆ ก็คือนำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของบริษัทแล้วดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก็เป็นของ บริษัทไป ท่านลองคิดดูสิครับว่าถ้าสมมุติพนักงาน 1 คนต้องนำเงินค้ำประกันมาให้บริษัทคนละเพียง 1,000 บาท แล้วบริษัทนั้นมีพนักงาน 1,000 คน บริษัทก็จะมีเงินเข้าบัญชีบริษัทอย่างเหนาะ ๆ ก็ 1 ล้านบาท (นี่ยังไม่รวมดอกเบี้ยนะครับ) ยิ่งมีพนักงานใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง บริษัทจะมีเงินหมุนเวียนในบัญชีได้ขนาดไหน

และที่สำคัญก็คือเมื่อพนักงานลาออก หรือพ้นสภาพไปจากบริษัทโดยไม่ได้ทำความเสียหายใด ๆ หลายบริษัทก็ไม่ได้คืนเงินค้ำประกันดังกล่าวให้กับพนักงานซึ่งอาจจะทำเป็น เฉย ๆ หรือบางทีพนักงานที่ลาออกก็ไม่อยากจะมีเรื่องมีราวกับบริษัทก็เลยไม่ทวงถาม ฯลฯ ซึ่งทำให้มีการทำมาหากินกับพนักงานอยู่ในลักษณะนี้อยู่เสมอมา จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 ออกมาโดยมาตรา 10 ได้กำหนดไว้ว่า

มาตรา ๑๐  ภาย ใต้บังคับมาตรา ๕๑ วรรคสอง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหาย ในการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างได้ ตลอดจนจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลา ออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี

ซึ่งกฎหมายแรงงานฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็น ต้นมา ทำให้บริษัทที่เคยประพฤติปฏิบัติเรื่องที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ต้องยุติการ เรียกรับเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ยกเว้นแต่งานที่ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนาย จ้างที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น พนักงานแคชเชียร์ เป็นต้น นอกจากที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วบริษัทก็ไม่สามารถจะเรียกหรือรับเงินค้ำประกัน การเข้าทำงานได้อีกต่อไป แถมหากพนักงานลาออกบริษัทก็ต้องคืนเงินค้ำประกันทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ย คืนให้กับพนักงานอีกด้วยนะครับ

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแรงงานปี 2541 ซึ่งเพิ่งออกมาเมื่อปี 2551  โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 โดยมีเนื้อหาว่า

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง

แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน

การทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่นหรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อม ดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลา ออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี

จากข้อความข้างต้นหมายความว่า แม้ว่าบางบริษัทจะเลี่ยงบาลีโดยไม่เรียกเก็บ “เงิน” ค้ำประกันการทำงาน แต่อาจจะมาเรียกให้พนักงานนำ “ทอง” มาค้ำประกัน (เพราะตามกฎหมายแรงงานปี 2541 บอกว่าห้ามไม่ให้เรียกรับ “เงิน” ค้ำประกันการทำงาน) การเข้าทำงานก็ไม่ได้นะครับ เพราะในกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) ข้างต้นระบุไว้ชัดว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับ “หลัก” ประกันการทำงาน....” แถมยังระบุไว้อีกด้วยว่าห้ามแม้แต่จะเรียกให้พนักงานนำบุคคลมาค้ำประกันก็ไม่ได้อีกด้วยนะครับ

ดังนั้น บริษัทที่ยังทำอะไรที่ไม่ถูกต้องอยู่ก็ควรจะทำให้ถูกต้องได้แล้วนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบงานด้านบุคลากรควรจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ บริหารระดับสูงเพื่อไม่ให้มีการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายแรงงานต่อไปครับ

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา