เมื่อสินค้าไม่ปลอดภัย… จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

week3_Content2

 

ใน ปัจจุบันมีผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเป็นจำนวนมาก  ด้วยสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนมากนั้นผลิตขึ้นมาด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนมาก ขึ้น  จึงเป็นการยากที่ผู้บริโภคจะตรวจสอบได้ว่าสินค้านั้นปลอดภัยหรือไม่ ทำให้เกิดความเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยขึ้น และเป็นการยากในการหาผู้ที่จะมารับผิดชอบ ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย มีความยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าจะนำตัวผู้ประกอบการที่กระทำผิดมารับผิดชอบ ทำให้ผู้บริโภคที่นอกจะเสียเงินแล้วยังต้องทนทุกข์ทรมานจากอันตรายและความ เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นทำให้รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ สินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยโดยในด้านการฟ้องร้องนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งได้รับการรับรองตามกฎหมายจาก คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถฟ้องร้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ และได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัยนี้ นอกจากจะเรียกร้องค่าสินค้าไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดให้สามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเป็นกรณี พิเศษได้อีก คือ
1. ค่าเสียหายแก่จิตใจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกายหรือสุขภาพอนามัย และหากความเสียหายรุนแรงถึงขนาดทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของบุคคลนั้น มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อได้รับค่าเสียหายทางจิตใจ เพื่อชดเชยความสูญเสียดังกล่าวด้วยเช่นกัน
2. ค่าเสียหายเชิงลงโทษ ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ขายสินค้าหรือบริการทั้งที่รู้ว่าสินค้านั้นไม่ ปลอดภัย หรือเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ภายหลังว่าสินค้านั้นไม่ปลอดภัยแล้วยังนิ่งเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าเสียหายทดแทนเพิ่มเติมตามที่ศาลเห็น สมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง
ในด้านของอายุความนั้น ผู้เสียหายต้องฟ้องร้องภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือภายในสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยเนื่องจากการสะสมของสารพิษในร่างกายที่ต้องใช้เวลาในการ แสดงอาการ ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับตั้งแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ ตัวผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิด แต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย นอกจากนี้ หากมีการเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายเกิดขึ้น กฎหมายกำหนดให้อายุความสะดุดอยู่ไม่นับอายุความในระหว่างที่มีการเจรจา
เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงสิทธิและการชดใช้ข้อเรียกร้องของผู้บริโภค จึงควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา