หนี้ของผู้ตาย…ใครรับผิดชอบ

week 4 content1

เป็นหนี้…ก็ต้องใช้คืน

การทำสัญญาตกลงในการกู้ยืมเงินหากมีหลักฐานชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยที่ กฎหมายกำหนดครับ แต่เมื่อลูกหนี้หายหน้าหายตาไปจากปริมณฑลของการใช้หนี้คืน อย่างนี้ไม่ได้เลยนะครับ เอาเงินเขามาแล้วก็ต้องใช้คืนเขา ตามที่ กม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 194 ระบุไว้ว่า “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”…

ถ้าลูกหนี้...เสียชีวิต

ตามหลักของกฎหมายแล้ว หนี้ของใครคนนั้นก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบครับ ปู่ ย่า ตายาย  พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกเมียไม่ต้องเข้ามารับผิดชอบในหนี้นั้นด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้เสียชีวิตลงเจ้าหนี้ก็จะต้องติดตามทวงหนี้เอาจากกองมรดก ของลูกหนี้เท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีมรดกก่อนตาย เจ้าหนี้ก็ไม่ได้รับชำระหนี้คืนเลย แต่หากลูกหนี้มีทรัพย์มรดกอยู่บ้างเจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้ตามที่มี ทรัพย์สินตกทอดมา แต่จะมากหรือน้อย ครบถ้วนตามจำนวนหนี้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทรัพย์มรดกของลูกหนี้ครับผม

ขั้นตอนการทวงหนี้...ผู้ตาย

การทวงหนี้ที่ผู้ตายก่อไว้นั้น ไม่จำเป็นต้องเคาะฝาโลงศพหรือจุดธูปทวงหนี้นะครับ (ฮา) แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถถือวิสาสะไปขนเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เสีย ชีวิตมาเป็นของตนเองเลยได้นะครับ จะต้องมีขั้นตอนในการติดตามหนี้สินตามกฎหมายจากทรัพย์สินที่เป็นกองมรดกของ ลูกหนี้คนนั้นๆ โดยปกติกองมรดกจะต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นผู้ดูแล วิธีการก็คือเจ้าหนี้ก็จะต้องไปทวงถามเอาจากผู้จัดการมรดก หลังจากนั้นหากผู้จัดการมรดกไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อขอให้ชำระหนี้ของผู้ตายครับ

ถ้าไม่มี...ผู้จัดการมรดก

เอาหล่ะซิครับ เมื่อไม่มีผู้จัดการมรดก ใครจะรับผิดชอบในหนี้ก้อนนี้หนอ แบบนี้ใช่ว่าทุกอย่างจะจบนะครับ (โปรดย้อนไปอ่านย่อหน้าแรกว่า มีหนี้ก็ต้องใช้คืน) เจ้าหนี้สามารถทวงถามไปยังทายาทของลูกหนี้ทั้งหมดให้ดำเนินการชดใช้หนี้จาก กองมรดกที่ได้รับจากผู้ตาย (ซึ่งเป็นลูกหนี้ของคุณ) ถ้าทายาทผู้มีสิทธิในการรับมรดกของลูกหนี้ไม่ดำเนินการใช้หนี้ให้ เจ้าหนี้ก็จะต้องไปฟ้องร้องเอากับทายาทมรดกทั้งหมดของลูกหนี้ครับ

ทายาทมรดก...สู้คดีแทนผู้ตาย

เมื่อได้ฟ้องทายาททั้งหมดซึ่งรับมรดกทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว หากทายาทมีข้อโต้แย้งใดๆ ก็สามารถสู้คดีแทนผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ หรือหากต่อมาศาลพิพากษาให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายชนะคดี ให้ลูกหนี้ชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็จะตามไปบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่เป็นกองมรดกของลูกหนี้เท่า นั้น ส่วนทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของทายาทนั้น ไม่สามารถตามไปบังคับคดีได้ นอกจากนี้ต้องฟ้องร้องให้ชดใช้หนี้กับทายาททุกคนที่ได้รับมรดกตามสัด

ส่วนที่แต่ละคนรับไปด้วยนะครับ จะฟ้องร้องเอาหนี้คืนจากคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ทายาทคนไหนไม่ได้รับแบ่งมรดก เจ้าหนี้จะไปฟ้องทายาทผู้นั้นก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะว่าทายาทที่ไม่ได้รับมรดกเขาไม่มีหน้าที่ที่จะต้องมารับผิดชอบใน หนี้สินของผู้ตายนะครับผม
ถ้าทายาท...ใช้ทรัพย์มรดกหมดเกลี้ยง

สมมติคุณเป็นเจ้าหนี้ผู้ตาย แล้วทายาทผู้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายบอกว่า “จะมาทวงอะไร พวกชั้นใช้มรดกหมดไปแล้ว” ไม่ได้เลยนะครับเพราะถึงแม้ว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมาแล้วนั้นจะ หมดไป ทายาทมรดกก็ยังจะต้องรับผิดหนี้มรดกตามจำนวนเท่าที่ตัวเองได้รับมรดกมาด้วย นะครับผม

แม้ว่าหนี้สินนั้น ใครเป็นผู้ก่อผู้นั้นก็จะต้องรับผิดชอบเอง พ่อ แม่ พี่น้อง ลูก เมีย ไม่ต้องเข้ามาร่วมรับผิดด้วย แต่ จำไว้นิดหนึ่งนะครับว่า เรื่องหนี้สินของผู้ตาย หากใครก็ตามได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายไว้ สิ่งที่จะต้องติดสอยห้อยตามมาก็คือหนี้สิน ดังนั้นเมื่อรับทรัพย์มรดกมาก็ต้องพ่วงหนี้มรดกไปด้วยเช่นกันครับผม

 

 

 

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา