ยกพวกตะลุมบอน…รู้หรือไม่ ผิดทุกคน

Week1 Content2

ยกพวกตีกัน...มีความผิด

 

การยกพวกตีกัน ผมว่ามันเป็นเรื่องที่หาสาเหตุไม่ได้เลยนะครับบางทีผมมองว่าเป็นพฤติกรรม หมู่ หรือที่นักจิตวิทยาสังคมเขามองว่าเป็นเรื่องของการพิสูจน์ความเป็นหมู่เป็น พวกอะไรเทือกๆ นั้น อย่าว่าแต่เด็กสมัยนี้เลยครับ สมัยก่อนหนุ่มๆ ตามต่างจังหวัดก็มักจะยกพวกต่อยตีกับไอ้หนุ่มต่างหมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุผลเช่นกัน ซึ่งในทางกฎหมายนั้นแม้ว่าคุณจะยกพวกตีกัน ต่างคนต่างได้รับบาดเจ็บ เลือดตกยางออกพอๆ กัน และไม่มีใครได้รับผลกระทบจากการยกพวกตะลุมบอน ก็ไม่ได้แปลว่าเรื่องจบนะครับ เพราะคุณยังต้องรับโทษฐานก่อการทะเลาะวิวาทในที่สาธารณะ (ปรับ 500 บาท) แล้วยิ่งมีการแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ก็ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นไปอีกครับ

 

ยกพวกตีกัน…จนมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส

 

ถ้าหากในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมในการชุลมุนครั้งนั้นหรือไม่ ได้รับอันตรายสาหัส โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ลงมือ ผู้ที่เข้าร่วมต่อสู้ทุกคนจะมีความผิดแม้ว่าตนเองอาจจะไม่ได้ทำร้ายคนที่ได้ รับอันตรายสาหัสเลย โดยจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

โทษหนักขึ้น...เมื่อมีคนตาย

 

โทษจะหนักขึ้นถ้ามีผู้เสียชีวิตในการนั้นอีกโดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ ผิด ผู้เข้าร่วมตะลุมบอนทุกคนก็ต้องร่วมรับโทษคนละ 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ นอกจากนี้ หากเหตุตะลุมบอนครั้งนั้นได้ส่งผลต่อบุคคลภายนอกที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ดังกล่าว กระบวนการทางกฎหมายก็จะพิจารณาจากพฤติการณ์ในการก่อเหตุอีกชั้นหนึ่ง อย่างกรณีของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีช่างบางกะปิ 2 คน ที่ก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงใส่คู่อริบนรถเมล์สาย 113 แต่กระสุนไปถูกเด็กชาย อายุ 9 ปี นักเรียนชั้น ป.3 เสียชีวิตในวันที่ 2 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ตำรวจก็แจ้งความดำเนินคดีข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา , ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ,พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควรซึ่งนั่นแปลว่าโทษอาจสูงถึงประหารชีวิตหรือจำคุก ตลอดชีวิตนะครับ

 

นักเรียนนักเลง...ตร.ใช้กฎหมายอั้งยี่แล้ว

 

เนื่องจากเหตุนักเรียนนักเลงยังไม่หายไปจากสังคมไทยโดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมใน เดือนเมษายนและตุลาคม คดีประเภทนี้จะมีเยอะมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนปกติธรรมดาว่าจะถูกลูก หลงหรือไม่ ดังนั้นตำรวจนครบาล (ในเขต กทม. ครับ) จึงได้นำกฎหมายอั้งยี่หรือซ่องโจรในประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้กับกลุ่มนัก เรียนที่นอกลู่นอกทาง

จะว่าไปแล้วกฎหมายอั้งยี่มีบทลงโทษแรงทีเดียวนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ในมาตรา 209 ของกฎหมายอาญาระบุว่า "ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน14,000 บาท ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท"

 

รัฐมีเงินช่วยเหยื่อ...จากกรมคุ้มครองสิทธิฯ

 

กรณีที่บุคคลที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่แต่กลับเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสีย ชีวิตจากการตะลุมบอนในครั้งนั้นรัฐก็มีทางออกให้สำหรับคนที่ตกเป็นเหยื่อโดย สามารถใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา

พ.ศ.2544 โดยรัฐจะพิจารณาค่าใช้จ่ายดังนี้ให้ครับ 1. ค่ารักษาพยาบาลและค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย-จิตใจที่จำเป็น 2. ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย 3. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ และ 4. ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

 

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา