แรงงานไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือครับและ เป็นกลุ่มคนที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะแรงงานที่ให้บริการในรูปแบบต่างๆ เช่น ช่างทำผม พนักงานนวดแผนไทย พนักงานต้อนรับบนสายการบิน พนักงานเสริฟ์ คนรับใช้ ฯลฯ ล้วนมีชื่อเสียงในเรื่องการยิ้มแย้มแจ่มใสและเต็มใจให้บริการทั้งนั้นครับ เมื่อแรงงานไทยทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ไหนเลยหล่ะครับที่กฎหมายจะไม่เข้าไปดูแลหรือปรับแก้ไขกฎเกณฑ์ต่างๆ นาๆ ให้เหมาะสม ยิ่งเมื่อแรงงานเจ็บไข้ได้ป่วยจากการทำงาน แบบนี้กฎหมายดูแลเป็นพิเศษครับ เฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการประกันสังคม
เจ็บป่วยเล็กน้อย...กองทุนฯ จ่าย
เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ก็ล้วนต่างจัดทำระบบประกันสังคมให้ลูกจ้างแรงงานครับ ซึ่งหากคุณเป็นลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน คุณจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 45,000 บาท ซึ่งหากคุณเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีการตกลงกับกองทุนเงินทดแทนคุณก็ ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลใดๆ เลยครับ แต่ถ้าเข้ารักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้ทดรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทนภายใน 90 วันครับผม
หากเกิน 45,000 ...นายจ้างจ่าย
กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกิน 45,000 บาท กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่ม อีกไม่เกิน 65,000 บาท แต่ต้องเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่เข้าตามเงื่อนไขต่อไป นี้ครับ 1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข 2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข 3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ 4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลังหรือรากประสาท 5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีผ่าตัดแบบละเอียด 6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สารเคมี หรือไฟฟ้า จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้เกินกว่าร้อยละ 30 ของร่างกาย
ถ้ารุนแรงมาก....นายจ้างจ่ายไม่เกิน 3 แสน
หากคุณเจ็บป่วยรุนแรงคือประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป หรือ 2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ 3) ต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ 20 วันขึ้นไป หรือ 4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตั้งแต่ 30 วันติดต่อกัน หรือ 5) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงและเรื้อรังจนเป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้ม เหลว แบบนี้ถ้าค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีก 65,000 บาท ไม่เพียงพอก็ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เพิ่มขึ้นอีก แต่เมื่อรวมค่ารักษาพยาบาลทั้ง 2 กรณีแล้ว ต้องไม่เกิน 200,000 บาท
แล้วถ้าค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 300,000 บาท แต่กรณีนี้ต้องให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้หากลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ในส่วนนี้นายจ้างต้องจ่ายตามจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาทครับ
ลูกจ้างการนิคมฯ...เบิกค่าธรรมเนียมแพทย์ได้
ลูกจ้างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต้องดีใจเพิ่มเติมอีกนะครับ เพราะเมื่อ วันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในหลักการให้การนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ปรับปรุงสวัสดิการเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล กรณีที่ผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลในครอบครัว ได้เข้ารับการรักษาพยาบาล ประเภทเป็นผู้ป่วยนอกที่คลินิกนอกเวลาในสถานพยาบาลของทางราชการ โดยให้เบิกค่าธรรมเนียมแพทย์ในการตรวจรักษาพิเศษนอกเวลาได้ จากเดิมตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 200 บาท และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3,600 บาท/ครอบครัว/ปี เปลี่ยนเป็นตามจำนวนที่จ่ายจริง และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3,600 บาท/ครอบครัว/ปี
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา