อย่างไรก็ตาม เครื่องสำอางเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าซึ่ง พรบ.เครื่องสำอางได้กำหนดให้ผู้นำเข้าเครื่องสำอางต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ของกระทรวงสาธารณสุขโดยผ่านขั้นตอนต่างๆกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งหากคุณผู้อ่าน Lisa ท่านใดอยากเป็นผู้นำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัดด้วยนะครับ
เครื่องสำอาง…ตามกฎหมาย
กฎหมายกำหนดความหมายของเครื่องสำอางไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ว่าหมายถึง “วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบหรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือ ส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายใช้เพื่อความสะอาด ความสวยงาม เพื่อสุขอนามัยที่ดี ไม่มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆของร่างกาย” และเนื่องจากกฎหมายแบ่งเครื่องสำอางเป็น 3 ประเภทคือ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุมและเครื่องสำอางทั่วไป ดังนั้นวิธีการจดแจ้งและขออนุญาตจึงต่างกันออกไปในแต่ละประเภทครับผม
เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ...พิเศษสมชื่อ
เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ หมายถึงเครื่องสำอางที่อาจเป็นอันตรายรุนแรงต่อผู้ใช้ หรือมีส่วนประกอบของวัตถุมีพิษหรือวัตถุอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง ต่อสวัสดิภาพอนามัยของบุคคล ดังนั้นผู้นำเข้าจะต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สำนักงานของผู้แจ้งตั้งอยู่ ซึ่งต้องแจ้งก่อนการนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมดังกล่าวไม่น้อยกว่า 15 วัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องจะดำเนินการออกใบรับแจ้ง การผลิตและนำเข้าตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษให้แก่ผู้แจ้งจนกระทั่งได้ รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ และชำระค่าธรรมเนียมรายปี จึงจะทำการนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษได้ เครื่องสำอางประเภทนี้ได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ขัดฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ขนร่วง ผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บ ฯลฯ ซึ่งข้อกำหนดในแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีรายชื่อและปริมาณสารควบคุมพิเศษไว้
เครื่องสำอางควบคุม...ก็ต้องขึ้นทะเบียน
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดประเภทเครื่องสำอางควบคุมไว้ 4 ประเภทคือ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ และสารควบคุม 2 กลุ่ม คือสารป้องกันแสงแดด และสารขจัดรังแค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขแบ่งระดับเป็นเครื่องสำอางควบคุมก็เพราะเห็นว่าเครื่อง สำอางประเภทนี้อาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพอนามัยของบุคคลได้ แต่ความรุนแรงน้อยกว่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษโดยผู้นำเข้าต้องแจ้งราย ละเอียดเกี่ยวกับเครื่องสำอางควบคุมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สำนักงานของผู้แจ้งตั้งอยู่ ซึ่งต้องแจ้งก่อนการนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมดังกล่าวไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อรับอนุญาตครับผม
เครื่องสำอางทั่วไป...ฉลากต้องถูกต้อง
เครื่องสำอางทั่วไปหมายถึงเครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ และสารควบคุมหรือไม่ได้เป็นเครื่องสำอางควบคุม ตัวอย่างเช่น สบู่ โฟม เจลทำความสะอาดผิว แชมพูที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษหรือสารควบคุม ครีมนวดผม เจล มูส โฟมจัดแต่งทรงผม นํ้าหอม แป้งผัดหน้าที่มิได้มีสารป้องกันแสงแดด อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว โลชั่นหรือครีมถนอมผิว ฯลฯ ซึ่งเครื่องสำอางประเภทนี้เยอะที่สุดแล้วครับในท้องตลาด
วิธีการก็คือต้องแจ้งการนำเข้าเครื่องสำอางทั่วไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของ อย. และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้อนุญาตให้นำเข้าแล้วต้องจัดทำ ฉลากภาษาไทยตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2536) ให้แล้วเสร็จและถูกต้องภายใน 30 วันโดยข้อความบนฉลากให้ระบุรายละเอียดเหมือนกรณีการผลิต แต่ให้แจ้งเพิ่มชื่อผู้ผลิตประเทศของผู้ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า ที่สำคัญต้องไม่มีสารห้ามใช้ สารควบคุมพิเศษ สารควบคุม หรือเป็นประเภทที่จัดเป็นเครื่องสำอางควบคุมครับ
เรื่องการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอางนั้นยังมีกฎหมายศุลกากรเข้ามา เกี่ยวข้องอีกนะครับ ซึ่งหากนำเข้าโดยไม่ผ่านกระบวนการทางศุลกากรมีโทษทั้งจำและปรับ อย่างไรเสียติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่กองควบคุมเครื่องสำอาง อย. หรือ www.e-cosmetic.fda.moph.go.th เจ้าหน้าที่ที่นั่นพร้อมให้คำแนะนำครับผม
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา