หนี้สาธารณะ…คืออะไร?

Week4Content2

หนี้สาธารณะ มันคือ

การสร้างหนี้ที่ผ่านกระบวนการบริหารการคลังของรัฐบาล แน่นอนไม่ใช่หนี้ของภาคเอกชนทั้งประเทศรวมกันนะครับ แต่เป็นหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้นและต้องอาศัยเงินงบประมาณ (ซึ่งได้มาจากภาษีอากรของประชาชน) ในการชำระหนี้คืน ซึ่งการใช้คืนนั้นก็มีทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ตัวอย่างการก่อหนี้ระยะยาวของรัฐบาลที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือการขายพันธบัตร ของรัฐบาลให้กับประชาชนที่กินเวลายาวนานร่วม 10-20 ปีนั่งไงครับ

หนี้อะไรบ้าง...ที่เป็นหนี้สาธารณะ

หนี้ที่เป็นหนี้สาธารณะนั้นมีทั้งหนี้ภายในประเทศและภายนอกประเทศซึ่งก็คือ 1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง  อันนี้มีผลผูกพันต่อรัฐบาลในการชำระคืนโดยนำเงินจากงบประมาณแผ่นดินและเป็น ภาระของประชาชนในฐานะผู้เสียภาษีอากร 2) หนี้รัฐวิสาหกิจ คือเงินกู้ที่รัฐบาลค้ำประกันหรือเงินกู้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ซึ่งรัฐวิสาหกิจได้มีบทบาทในการก่อหนี้เพื่อลงทุนโครงการต่างๆ ในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ และ 3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือเงินที่กู้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินทั้งหลาย

ความสำคัญ...ของหนี้สาธารณะ

รัฐบาลก็เหมือนพวกเราๆ นี่แหละครับ ที่จะต้องมีเงินเอาไว้ใช้จ่ายในการบริหารประเทศให้มีการพัฒนายิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีเงินไม่พอก็จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในกิจการต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย (ไทยเราก็ยังเป็นประเทศในกลุ่มนี้นะครับ) การออมในประเทศอยู่ในระดับต่ำ การสะสมทุนมีน้อย ในขณะที่ความต้องการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีมากขึ้น แต่กลายเป็นว่าการขาดแคลนเงินทุนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจึงพยายามหาเงินทุนมาใช้จ่าย ในการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ

รัฐบาลกู้เงิน...มาทำอะไร

โดยทั่วไปรัฐบาลเมื่อกู้เงินมาแล้วก็จะนำไป

1) ใช้จ่ายในการลงทุน ได้แก่การลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามหน้าที่ของรัฐ ก็คือสร้างเสริมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การทหาร การต่างประเทศซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่สามารถจะหวังจากการลงทุนในภาคเอกชนได้เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้ เงินทุนเป็นจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนต่ำหรือระยะเวลาที่คืนทุนนาน

2) รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น  ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินฝืด ระดับราคาสินค้าโดย ทั่วๆไป มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ผู้ผลิตก็จะลดปริมาณการผลิตลง ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมีผลกระทบต่อรายได้ส่วนรวมของประเทศ การรักษาเสถียรภาพของรับอาจทำโดยการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจให้ มากขึ้นทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น  ในที่สุดระบบเศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ

3) ชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล   ในบางปีรัฐบาลอาจมีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ มาใช้จ่ายเพื่อให้กิจกรรมต่างๆของรัฐบาลดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

เหตุผลอื่นๆ...ที่ต้องกู้เงิน

นอกจากนี้ภาครัฐ ยังต้องก่อหนี้สาธารณะเพื่อ
4) .ใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน เช่น ประสบภัยธรรมชาติต่างๆ   เกิดสงคราม การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่จำเป็นบางประเภท

5) รักษาและเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ  ในระบบเศรษฐกิจนั้น   หากทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ถูกนำมาใช้จนเหลือน้อยกว่าปกติอาจเป็น อันตรายต่อความมั่นคงของประเทศในทางเศรษฐกิจได้

6) ระดมทุนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศ  ในบางประเทศประชาชนออมเงินไว้เฉยๆ  ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นในระบบเศรษฐกิจได้  รัฐบาลอาจแก้ไขปัญหาด้วยการก่อหนี้จากเงินออมของประชาชนโดยกู้เงินส่วนนี้มา ลงทุน

7) เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดเวลาใช้เงินคืน รัฐบาลอาจไม่มีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามสัญญาหรือกำหนดเวลา และ

8) ปรับปรุงโครงสร้างภาระหนี้ให้มีการกระจายหนี้ดีขึ้น (Refinancing) บางห้วงเวลา ตลาดเงินทุนอาจมีดอกเบี้ยต่ำและให้เงื่อนไขที่ดีต่อผู้กู้ ดังนั้นรัฐบาลอาจมีเหตุผลที่จะทำการกู้เพื่อไถ่ถอนหนี้เดิมที่มีอัตรา ดอกเบี้ยสูงกว่าและมีเงื่อนไขที่ด้อยกว่าหนี้ก้อนใหม่

 

 

 

 

 

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา