ได้อะไร…เมื่อไปทำ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์

week4 content1

เดี๋ยวนี้รถมอเตอร์ไซค์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่และรุ่นจิ๋วต่างเข้ามาตีตลาดเมืองไทยจนกลายเป็นของเล่นให้กับบรรดา คนรักรถมอเตอร์ไซค์ให้ได้นำออกมาขับขี่ในวันที่ท้องถนนเป็นใจ หรือไม่หากเป็นรถรุ่นใหญ่ๆ หลายคนก็เอาไปออกวิ่งนอกเมืองไกลๆ เป็นรถวิบากขับขึ้นเขาลงห้วยสนุกสนานครับ

ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์รุ่นไหนๆ ก็ต้องไปทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลทั้งนั้นครับ ซึ่งในคอลัมน์ Woman & Law ฉบับนี้แหละครับที่ผมจะพูดคุยกับคุณผู้อ่านในเรื่องนี้

ทำไมต้องมี...พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เขากำหนดให้รถทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ต้องจัดให้มีการทำประกันภัยหรือการจัดทำ พ.ร.บ. เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1.  เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย เหตุเพราะประสบภัยจากรถให้ได้รับการแก้ไขเยียวยา โดยให้ได้รับค่าเสียหายเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีได้ รับอันตรายแก่ร่างกาย ทั้งเงินช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดงานศพ ในกรณีเสียชีวิตโดยเร็วที่สุด หลังจากที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์
  2.  เพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทุกแห่งว่าจะได้รับค่า รักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอนและรวดเร็ว เมื่อได้รับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษาตัว
  3.  เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการ แบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว
  4.  หากเกิดอุบัติเหตุจากรถและมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้น ผู้ประสบภัยดังกล่าวสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคนและความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาทต่อคน โดยให้ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท แต่หากได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรือสูญเสียอวัยวะสำคัญตามที่กำหนดไว้ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาทต่อคน
  5.   การประกันภัย ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะชีวิต ร่างกาย เท่านั้น ทรัพย์สินหรือตัวรถไม่เกี่ยวข้องครับ

ใช้ประโยชน์จาก พ.ร.บ...อย่างไร

เมื่อคุณผู้อ่านประสบอุบัติเหตุ สามารถใช้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ตามนี้เลยครับ

  1.  หากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสามารถแจ้งความจำนงกับโรงพยาบาลในการใช้สิทธิ พ.ร.บ.โดยมอบอำนาจให้ทางโรงพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกับบริษัท ประกันภัยได้เลย
  2.  หากไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยสำรองจ่ายไปก่อนก็สามารถนำ เอกสารไปตั้งเบิกกับบริษัทที่ทำประกันไว้ได้ภายใน 180 วันหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุโดยเอกสารในการเคลมประกันมีดังนี้

-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน -  สำเนาทะเบียนบ้าน -  สำเนาพ.ร.บ. (หรือพ.ร.บ.ตัวจริงที่เอาประกันอยู่) -  สำเนาทะเบียนรถ -  บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ -  ใบเสร็จรับเงินจากทางโรงพยาบาลที่สำรองจ่ายไปทั้งหมด

แต่ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่สามารถสรุปยอดในการใช้จ่ายทั้งหมดได้ในวันเดียวก็ สามารถรวบรวมใบเสร็จรับเงินที่ต้องรักษาทั้งหมดให้ได้ก่อนจึงไปทำเรื่องเบิก ภายหลังทีเดียวก็ได้แต่ต้องทำเรื่องภายใน 180 วันหลังจากประสบอุบัติเหตุครับผม

จัดทำ พ.ร.บ....เพื่อประกอบการเสียภาษีรถฯ

ในการเสียภาษีรถฯ ประจำปีที่กรมขนส่งฯ หรือขนส่งจังหวัด ต้องใช้เอกสารสองอย่างคือ ใบคู่มือจดทะเบียน และหลักฐานการชำระพ.ร.บ. ซึ่งการเสียภาษีรถมอเตอร์ไซด์นั้นมีค่าใช้จ่าย 100 บาทต่อปีแต่ถ้าเป็นรถเกินห้าปีต้องไปตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนครับ แล้วจึงเอาใบตรวจรับรองสภาพรถมาเสียภาษี ส่วนค่าเบี้ยประกันตาม พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์นั้น หาก ไม่เกิน 75 ซีซี ราคา 162 บาท, ระหว่าง 75-125 ซีซี ราคา 324 บาท, ระหว่าง 125-150 ซีซี ราคา 430 บาท, เกิน 150  ซีซี ราคา 645  บาท…ไม่แพงเลยใช่ไหมครับเมื่อแลกกับการคุ้มครองที่จะได้รับ

กฎเกณฑ์หรือกฎหมายทุกข้อตราขึ้นมาย่อมมีเหตุผลเสมอครับทั้งต่อตัวเราและคน อื่นๆ ในสังคม ที่สำคัญกฎหมายส่วนใหญ่ยังช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยแก้ปัญหาในสังคมอีกด้วย นะครับ

 

 

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา