การรับสภาพหนี้...คือ?
การรับสภาพหนี้นั้นนะครับกำหนดไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ มาตรา 193/14 (1)
ซึ่งสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้เป็นการรับสภาพหนี้คือ ต้องทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้ทั้งหมด หรือชำระหนี้ให้บางส่วน หรือชำระดอกเบี้ย หรือให้ประกันหรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้เห็นว่ายอมรับสภาพหนี้ อย่างไรก็ตามต้องมีหนี้ระหว่างกันก่อนนะครับจึงจะเกิดการทำหนังสือรับสภาพ หนี้ได้
ทำไมต้องทำหนังสือ...รับสภาพหนี้
การทำหนังสือรับสภาพหนี้นั้น หลักๆ แล้วก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ไม่ให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของเขา ที่มีต่อลูกหนี้นั้นขาดอายุความ นอกจากนี้หนังสือรับสภาพหนี้ยังเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังหากขณะที่เกิด การกู้หนี้ยืมสินกันก่อนหน้านั้นไม่ได้มีการทำหนังสือ หรือสัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย
ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้
การทำหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจะต้องมีรายละเอียดของข้อความตามแนวทางต่อไปนี้ ครับ * รายละเอียดของเจ้าหนี้และลูกหนี้ว่าเป็นใคร *ลูกหนี้เป็นหนี้ค่าอะไร จำนวนเงินเท่าไร ให้แจงรายละเอียดของ เงินต้น ดอกเบี้ย ต่างๆนาๆ ให้หมดครับ * กำหนดการชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อใด *หากไม่ชำระหนี้ จะมี "สภาพบังคับ" เช่นไร อาทิเช่น คิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ คิดเบี้ยปรับอย่างไร หรือมีค่าติดตามทวงถามหรือไม่? ฯลฯ *หากลูกหนี้ "ผิดนัด" หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ลูกหนี้ยอมให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีได้ทันที
อายุความ...คดีหนี้
ตามกฎหมายแล้ว ระยะเวลาในการฟ้องร้องของเจ้าหนี้เงินกู้ที่ทำสัญญาตกลงชำระเงินกู้คืนทั้ง หมดพร้อมดอกเบี้ยจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องครับผม เช่น ถ้าหากในสัญญาระบุว่าใช้หนี้จำนวน 500,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยภายในวันที่ 1 ม.ค. 2555 ดังนั้นเจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกู้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 หากเจ้าหนี้ฟ้องหลังจากปี 2564 ถือว่าคดีฟ้องเรียกเงินกู้คืนนั้นขาดอายุความครับ
ผลของการรับสภาพหนี้...ก่อนหมดอายุความ
การทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือชำระหนี้บางส่วนก่อนคดีขาดอายุความ มีผลทำให้อายุความหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่เท่าอายุความเดิมเลยนะครับ นอกจากนี้หากลูกหนี้ยังค้างหนี้อยู่อีกเท่าใด ก็ยังจะต้องรับผิดชอบอีกเท่านั้นนะครับผม ซึ่งหากหนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เมื่อทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ อายุความในการฟ้องร้องก็จะเป็น 10 ปีเช่นเดียวกัน
ผลของการรับสภาพหนี้...หลังหมดอายุความ
ส่วนลูกหนี้เจ้าใดที่ชำระหนี้บางส่วนหลังจากคดีตัวเองขาดอายุความ หนี้ที่ชำระไปแล้วนั้นลูกหนี้จะเรียกคืนไม่ได้เลยนะครับ แต่หนี้ในส่วนที่ยังค้างชำระนั้นสามารถปฏิเสธการชำระหนี้ได้โดยใช้การต่อสู้ ทางกฎหมายว่าขาดอายุความแล้วเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ส่วนการรับสภาพหนี้เป็นหนังสือ ภายหลังหนี้ขาดอายุความส่วนใหญ่จะเรียกว่าการทำหนังสือรับสภาพความผิด ซึ่งลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชอบตามหนังสือรับสภาพความผิดนั้น โดยกฎหมายกำหนดให้มีอายุความ 2 ปีตาม ปพพ.มาตรา 193/35 ครับผม
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา