ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

week4-content1

เพราะความผิดฐานกรรโชกทรัพย์มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับฐานชิงทรัพย์ และยังใกล้เคียงกับความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ จึงขอสรุปความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ดังนี้

1. การขู่เข็ญจะทำอันตรายนั้น จะทำกับตัวผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามก็ได้

2. ถ้าขู่จะทำร้ายในทันทีต้องเอาทรัพย์ในภายหน้า ขู่จะเอาทรัพย์ในขณะนั้นต้องจะทำร้ายในภายหน้า คือต้องมีช่วงเวลาระหว่างการเอาทรัพย์กับการทำร้ายหรือขู่ว่าจะทำร้าย

ถ้าเอาทรัพย์ไปในทันทีและทำร้ายหรือขู่จะทำร้ายทันทีเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่ถ้าขู่จะทำอันตรายแก่ทรัพย์ในทันทีและได้ทรัพย์ไปในขณะนั้นไม่เป็นชิงทรัพย์ แต่เป็นกรรโชกทรัพย์ เพราะมิใช่ขู่จะทำอันตรายแก่บุคคล

3. สิ่งที่ยอมให้หรือยอมจะให้ ไม่จำกัดเฉพาะทรัพย์สิน แต่รวมถึงประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินด้วย

4. การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย ไม่จำกัดเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น แต่รวมถึงชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามด้วย

5. ขู่ให้ส่งบุตรสาวไปเป็นภรรยา ไม่ใช่ประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สินไม่ผิดฐานกรรโชก แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ ข่มขืนใจให้ได้มาซึ่งประโยชน์ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก ดูฎีกาที่ 1147/2513

6. เมื่อผู้ถูกข่มขืนใจยอมให้หรือยอมจะให้ตามที่ถูกข่มขืนใจแล้ว ย่อมเป็นความผิดสำเร็จทันที แม้ผู้ถูกข่มขืนใจ จะยังไม่ได้รับประโยชน์นั้นมาก็ตาม แต่ถ้าผู้ถูกข่มขืนใจไม่ยอมให้หรือไม่ยอมจะให้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เช่นไม่กลัว เป็นความผิดพยายามกรรโชก แม้ผู้ถูกข่มขืนใจยอมให้เพราะตำรวจให้นำไปให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการจับ กุมผู้ข่มขู่ก็ตาม ก็เป็นความผิดเพียงพยายามกรรโชกทรัพย์ แต่ถ้าผู้เสียหายรู้ตัวว่าจะมีคนร้ายมาขู่เรียกเงิน จึงได้แจ้งความเจ้าพนักงานตำรวจไว้ก่อน เจ้าพนักงานตำรวจได้มาอารักขาอยู่แล้ว จึงเข้าจับกุมจำเลย ดังนี้ย่อมไม่ผิดฐานกรรโชก แต่ศาลลงโทษความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ ตามฎีกาที่ 396/2503

7. การข่มขู่ว่าจะให้ตำรวจจับผู้ที่กระทำผิดต่อเรา เช่น มีคนมาลักสิ่งของของเราไป แล้วเราขู่ว่าให้ผู้นั้นใช้ราคาสิ่งของและเรียกค่าเสียหาย เป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำได้ ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์เพราะเป็นการข่มขู่จะใช้สิทธิตามกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต ดูฎีกาที่ 2688/2530 , 5599/2531 แต่ถ้าเขาไม่ได้กระทำอะไรต่อเราเลย ถ้าไปขู่เขาโดยเจตนาไม่สุจริตย่อมเป็นความผิดกรรโชกทรัพย์ เพราะไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ แต่ถ้าเราเชื่อว่าเขากระทำผิดต่อเรา จึงไปขู่เข็ญ เป็นการสำคัญผิด ยังไม่เป็นความผิดกรรโชกทรัพย์เช่นกัน

8. แม้การขู่เข็ญนั้นจะเกิดจากการกระทำที่ร่วมกันฉ้อโกงมิได้ตั้งใจจะขู่เข็ญอย่างจริงจังก็ตาม หากผู้ถูกขู่เข็ญไม่ทราบความจริง ผู้ขู่เข็ญก็ยังต้องมีความผิดฐานกรรโชก ดูฎีกาที่ 1278/2503

9. การที่เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ให้เขาหามาให้ซึ่งทรัพย์สิน ย่อมเป็นความผิดฐานกรรโชกด้วย แต่ความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 148 มีโทษ สูงกว่า ส่วนเจ้าพนักงานกระทำผิดตาม มาตรา 149 เป็นการกระทำในอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ ไม่ผิดกรรโชกทรัพย์ ด้วย

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา