สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา

week4_Content1

ขอนำรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ฝ่ายสำนักกฎหมายและคดี  ที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค  เรื่องที่ต้องดูแลรักษา  ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก  จึงนำมาฝากผู้บริโภคเพื่อให้รักษาสิทธิของตนเอง

          “สิทธิเรื่องที่คนจำนวนมากไม่รู้ หลายคนไม่ได้คิดถึง ทั้งที่สิทธิ เป็นเรื่องอันชอบธรรมของผู้บริโภคที่ควรจะได้รับ และที่สำคัญ...ควรต้องรู้
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพิทักษ์รักษา คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ล่าสุด! พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ ปลอดภัย พ.ศ.2551 ประกาศแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2552  จากที่แต่เดิมประชาชนทั่วไปจะได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 ซึ่งมีสาระสำคัญๆ ได้แก่
มีสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสาร สรรพคุณที่ถูกต้องและพอเพียงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการมีสิทธิอิสระในการ เลือกซื้อสินค้าหรือบริการ มีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ มีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และมีสิทธิได้รับการพิจารณาและชดเชย ความเสียหาย
ปัจจุบัน การคุ้มครองเท่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว!หลายๆ กรณี หลายๆ เหตุการณ์ ที่สะท้อนว่าผู้บริโภคกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ!  ดังนั้น พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจะได้เข้ามา ช่วยให้ประชาชนได้รับการพิทักษ์มากขึ้น
ประการแรก พรบ. ระบุความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย หมายรวมถึงความเสียหายทั้งต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ และทรัพย์สิน
นั่นหมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว วิตกกังวล  ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้า  ใดๆ จะได้รับการชดเชย  ความวิตกกังวลเมื่อพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้อยู่ อาจปนเปื้ อนด้วยสารเคมีที่มีฤทธ์ร้ายแรง ตลอดเวลาของความเสียหายต่อจิตใจนี้ ผู้ประกอบการไม่สามารถผลักภาระความรับผิดชอบได้ ถึงแม้ว่าในที่สุดจะเป็นเพียงความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต เท่านั้นก็ตาม
ที่สำคัญ การพิสูจน์ต่อศาลว่าได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้านั้นๆ ตาม พรบ. ใหม่ได้กำหนดให้เป็ นหน้าที่ของ ผู้ประกอบการซึ่งมีข้อดีที่จะทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงินหรือค้นคว้าความ รู้ที่จะนำมาเป็นหลักฐานชี้ความเสียหาย  และไม่ว่าความเสียหายดังกล่าวจะเกิดจากความจงใจหรือความประมาทเลินเล่อของ ผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่หลักที่จะพิสูจน์ความจริงให้ได้
ยกตัวอย่าง การซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้มาตรฐาน การซื้ออาหารที่ไม่สะอาดมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่หรือไม่ได้คุณภาพ รวมถึงการซื้ออาหารกระป๋องที่มีสารอันตรายปนเปื้อน เป็นต้น
ข้อดีอีกประการ คือ ระยะเวลาการฟ้ องคดี ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิได้ภายใน 3 ปี นับจากวันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือไม่เกิน 10 ปี นับ แต่วันที่ผู้บริโภครู้ถึงความเสียหาย  เพราะสินค้าที่มีความทันสมัย มีเทคโนโลยีสูงขึ้น กว่าที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่า สินค้าไม่ปลอดภัยจะกระทำได้ยากขึ้นหรืออาจทำไม่ได้เลย จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดผลร้ายของสินค้านั้นๆ มากระทบกับตัวเรา กับครอบครัวหรือคนที่เรารักนั่นเอง
สคบ. จึงขอฝากถึงผู้บริโภคว่า หากถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ หรือได้รับอันตรายจากสินค้า ขอให้นึกถึง สคบ. ทันที  ร้องเรียนสายด่วนผู้บริโภค 1166 หรือที่อีเมล
consumer@ocpb.go.th

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ocpb.go.th

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา