กองมรดกที่มีทรัพย์สินมากมายและทายาทที่มีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งหลายคน จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการรวบรวม ทรัพย์สิน ชำระหนี้สินและแบ่งปันทรัพย์สินให้แก่ทายาทต่อไป แต่ถ้ากองมรดก ที่มีทรัพย์สินมากมายและทายาทตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันเองได้ หาจำต้องมาขอ ตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลไม่ เช่น เจ้ามรดกมีทรัพย์ มรดกคือ เงินสดกับ เครื่องทองรูปพรรณ รวมเป็นเงิน
2,000,000 บาท มีทายาท 2 คน และตกลงแบ่งกันคนละ 1,000,000 บาท ดังนี้ก็ไม่ มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดกที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลให้ ตั้งผู้จัดการมรดก
อย่างไรก็ดี มีทรัพย์สินบางอย่างที่ต้องดำเนินการจดทะเบียน สิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ กรรมสิทธิ์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ คือที่ดิน เรือ แพ บ้านเรือนและ สัตว์ พาหนะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456, 1299 ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ยอมจดทะเบียนให้หรือเงินฝากธนาคารซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 992 ซึ่งบัญญัติว่า "หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงิน ตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้น ท่านว่าเป็นอันสิ้นสุดไปเมื่อ...
(2) รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย ฯลฯ "และการฝากเงินเป็นสัญญาฝาก ทรัพย์ มาตรา 665 วรรคสอง หากผู้ฝากทรัพย์ตายให้คืนทรัพย์นั้นให้แก่ ทายาท เมื่อธนาคารไม่อาจรู้ว่าใครเป็นทายาทที่แท้จริง ในทางปฏิบัติธนาคารจะ ไม่ยอมให้ถอนเงินฝากนั้น จนกว่าจะมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกไปแสดงเหตุ ขัดข้องดังกล่าว
เป็นข้ออ้างที่อาจร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลได้ ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171"
"มาตรา 1711 ผู้จัดการมรดกนั้น รวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล"
ผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมมีรายละเอียดตาม มาตรา 1712 ส่วนที่ตั้งขึ้นโดยคำสั่งศาลมีรายละเอียดตามมาตรา 1713
ผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาลย่อม มีหน้าที่ตามมาตรา 1719 คือ ถ้าเป็นการจัดการมรดกมีพินัยกรรมผู้จัดการมรดก ก็ต้องจัดการให้เป็นไปตามข้อกำหนดพินัยกรรม อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการ จัดการมรดกมีพินัยกรรมหรือไม่มีพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิและ หน้าที่โดยทั่วไปอันได้แก่รวบรวมทรัพย์มรดกว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง และจัดทำ บัญชีมรดกตามกำหนดเวลาที่บัญญัติตามมาตรา 1728, 1729 และเรียกร้องหนี้สิน ซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดก และถ้าจำเป็นก็อาจเป็นโจทก์ฟ้องแก่เจ้าหนี้ ของกอกมรดก ถ้าไม่ชำระหนี้ดังกล่าวอาจฟ้องบังคับแก่ทายาทคนใดก็ได้ รวมทั้ง ฟ้องหรือเรียกผู้จัดการมรดกให้เข้ามาในคดีตามมาตรา 1737
ผู้จัดการมรดกที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจึงจะมีสิทธิและ หน้าที่ดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าไม่ใช่ผู้จัดการมรดกแล้วหามีอำนาจเช่นนั้นไม่
"มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำ เป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก"
คำพิพากษาฎีกาที่ 8519/2547 ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติ ว่า "ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไป ตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก" ตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท เมื่อ ส. เจ้ามรดกเป็นเจ้า ของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ย่อมมี สิทธิฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ เพื่อนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกดังกล่าวมา แบ่งปันให้ทายาทต่อไป
โจทก์ทั้งสองขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วน ของ ส. แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยได้นำโฉนดที่ดิน แปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองโฉนด ที่ดินดังกล่าว ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบโฉนด ที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยก แต่จำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ ถือ ว่าจำเลยที่ 4 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจ ฟ้อง
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา