เมื่อคุณอยู่ในภาวะ…สมรสซ้อน

week 3 content1

ปัญหาโลกแตกในแวดวงกฎหมายอันดับต้นๆ คือปัญหาผัวๆ เมียๆ ครับ โดยเฉพาะปัญหาเธอเปลี่ยนไป เธอไปมีคนใหม่ เธอไปยกย่องคนใหม่ให้เสมอเทียบเทียมฉันซึ่งแต่งงานกับเธอตั้งแต่ยังไม่มี อะไรเป็นหลักเป็นฐาน พอเริ่มมีฐานะก็คิดจะไปมีกิ๊ก ไปมีชู้ หนักหนาสาหัสก็ไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับคนใหม่...

สมรสซ้อน...คืออะไร

การสมรสซ้อนนั้นหมายถึงการจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองในขณะที่ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งยังไม่หย่าขาดจากคู่สมรสเดิม เลยทำให้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการจดทะเบียนซ้อน ซึ่งเป็นข้อห้ามที่มีผลทางกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 ว่า การจดทะเบียนสมรสซ้อนหรือจดทะเบียนซ้อน ถือเป็นโมฆะ  อันส่งผลให้การสมรสซ้อนหรือการสมรสครั้งที่สองไม่มีผลทางกฎหมายทันที

สิทธิในทรัพย์สินร่วมกัน...น้อยนิด

หลังจากมีการสมรสซ้อนซึ่งถือเป็นโมฆะในทางกฎหมาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไม่เต็มที่ ไม่เต็มร้อยเหมือนกับคู่ที่จดทะเบียนครั้งแรกครับ โดยทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรส รวมทั้งดอกผลก็ยังคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ ร่วมกันให้แบ่งกันคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น นอกจากนี้สืบเนื่องจากว่าการสมรสครั้งนี้ได้เสียเปล่ามาตั้งแต่เริ่มต้น หากมีผู้กล่าวความเป็นโมฆะขึ้นมาเมื่อใด ก็ต้องนับย้อนไปตั้งแต่วันที่มีการจดทะเบียนสมรสซ้อนนะครับไม่ใช่นับตั้งแต่ วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะ (มันโมฆะในตัวเองนับตั้งแต่วันที่สมรสซ้อนแล้วครับ) ดังนั้นทรัพย์สินใหม่ระหว่างภริยากับสามีที่จดทะเบียนซ้อนจึงไม่ถือว่าเป็น สินสมรสแต่ให้ถือตามความจริงว่า ทรัพย์สินอันใดเป็นของชายหรือหญิงก็ตกเป็นของคนนั้นเฉพาะทรัพย์สินที่ พิสูจน์ได้ว่า ทำมาหาได้ร่วมกันเท่านั้นจึงจะถือว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันที่จะมีสิทธิคนละ ครึ่ง

เผลอๆ...ถูกเรียกคืนอีก

อย่างที่บอกว่าหากผู้ชาย (หรือผู้หญิง) จดทะเบียนกับหญิงอื่น (ชายอื่น) มาก่อนที่จะมีทรัพย์สินใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามี (หรือภรรยา) ทรัพย์สินนั้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้มาในระหว่างที่สมรสกับภริยา (หรือสามี) คนแรก ดังนั้นภริยา (หรือสามี) คนแรกเขาย่อมมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง และการที่สามี (หรือภรรยา) ยกทรัพย์สินใด ๆ เกินสมควร ถือว่าเป็นการให้โดยเสน่หาที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสตามกฎหมาย ดังนั้นภริยาคนแรก (หรือสามีคนแรก) ย่อมอาจฟ้องขอเพิกถอนการโอนยกให้ได้เช่นกันครับ เช่นถ้าคุณเดชซื้อรถยนต์มูลค่าหนึ่งล้านบาทให้คุณสวย (ภรรยาคนที่สอง)ไม่ว่าก่อนหรือหลังจดทะเบียนซ้อน โดยซื้อรถด้วยเงินสินสมรสเดิมที่นายเดชแต่งงานกับคุณนาง (ภรรยาคนแรก)...แบบนี้คุณนางเขาย่อมใช้สิทธิ์เรียกรถยนต์คืนตามมูลค่าครึ่ง หนึ่งได้ คือ ห้าแสนบาทถ้วนครับ

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา