พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานปี พ.ศ.2541 ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 76 เลยนะครับว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหัก เพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพ แรงงาน
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไป เพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วง หน้าจากลูกจ้าง
(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้ แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
ซึ่งการหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตาม มาตรา 70 เว้น แต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเท่านั้นนะครับ ซึ่งหากนายจ้างฝ่าฝืนแล้วหักเงินลูกจ้างตามที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรง งานฯ มาตรา 76 นายจ้างมีความผิดตามมาตรา 144 โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเลยนะครับผม
บทลงโทษตามกฎหมาย...ไม่มีลดเงินเดือน
การกำหนดโทษของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างนั้น หากลูกจ้างรายใดฝ่าฝืนหรือกระทำผิดจะถูกพิจารณาลงโทษ ตามข้อเท็จจริงของความผิดที่ได้กระทำโดยไม่ต้องเรียงลำดับการลงโทษ และให้ขึ้นอยู่กับลักษณะการกระทำผิด ซึ่งบทลงโทษลูกจ้างตามกฎหมายนั้นจะไม่มีเรื่องการลดเงินเดือนค่าจ้างเลยนะ ครับ โดยบทลงโทษมีดังนี้ 1.การตักเตือนด้วยวาจา 2.การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 3.การพักงาน (ไม่เกิน 7 วัน) 4. การเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย และ 5. การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั่นแปลว่าลูกจ้างมี พฤติกรรมในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ครับ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และ (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
เมื่อถูกลดเงินเดือน...อย่ายินยอม
ไม่ว่าคุณจะทำงานกับบริษัทหรือหน่วยงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน เขาก็ไม่สามารถลดเงินเดือนค่าจ้างของลูกจ้างได้ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม หากบริษัทฯ ฝ่าฝืน มัดมือชกลดเงินเดือนโดยพนักงานไม่ยินยอม ถือว่าเป็นการลดสภาพการจ้างและเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานและข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ และแม้ว่าต่อมาบริษัทปิดกิจการก็ยังถือว่าเป็นการเลิกจ้างพนักงานโดยพนักงาน ไม่มีความผิด บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 118 และการจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างต้องจ่ายตามฐานเงินเดือนและอายุงานด้วยนะครับ
หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน สามารถไปปรึกษาได้ที่ผู้แทนหรือเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดของแต่ละจังหวัด หรือโทร.สายด่วน 1546 ได้เลยนะครับ
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา