การขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็แปลว่าคุณได้เสียภาษีไปแล้ว อาจจะเป็นการหัก ณ ที่จ่าย ตอนที่คุณรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง พอครบกำหนดสิ้นปีภาษี บริษัทห้างร้านที่คุณทำงานหรือรับค่าจ้างซึ่งได้หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย เขาก็จะออกใบสำคัญชื่อ “50 ทวิ” เป็นหลักฐานให้คุณแนบยื่นต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรในการกรอกแบบฟอร์มเสียภาษี เงินได้ฯ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เขาคำนวณในแบบ ภงด.91 ว่าคุณจ่ายภาษีไม่ครบถ้วน คุณก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้ครบ แต่ถ้าหากเจ้าหน้าที่เขาคำนวณแล้วคุณจ่ายภาษีไว้เกินคุณก็ยื่นแบบฟอร์มการ เสียภาษีแล้วแจ้งความประสงค์ขอรับภาษีคืน หลังจากนั้นกรมสรรพากรเขาก็จะจ่ายภาษีที่หักคุณไว้เกินจัดส่งมาทางไปรษณีย์ ซึ่งเขาจะสั่งจ่ายมาเป็นเช็คครับ (และขอเน้นย้ำไว้ตรงนี้ครับว่าอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพที่โทรศัพท์มาแจ้งว่าคุณ ได้รับคืนภาษี ให้ไปทำธุรกรรมรับเงินคืนที่ตู้เอทีเอ็มนะครับ)
อย่างไรก็ตามการจะขอคืนภาษีเงินได้ คุณต้องยื่นแสดงแบบ ภงด.91 พร้อม 50ทวิทุกรายการให้เจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาเสียก่อน นั่นก็คือคุณต้องเตรียมหลักฐานประกอบ ภงด.91 ให้ครบถ้วน ทั้งเงินภาษีที่คุณจ่ายไปแล้ว ณ ที่จ่าย หรือเงินค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น คุณส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าประกันชีวิต ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา เงินบริจาค ฯลฯ ล้วนมีผลทั้งนั้นครับ ซึ่งขั้นตอนการยื่นแบบและจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นเขากำหนดไว้ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีครับ
ค่าใช้จ่าย...ลดหย่อนภาษี
สิทธิลดหย่อนภาษี คือก่อนที่คุณจะนำเงินรายได้ของคุณไปคิดภาษี รัฐบาลก็เห็นใจคุณที่ต้องมีภาระรับผิดชอบในชีวิตมากมาย โดยภาระและจำนวนเงินที่คุณสามารถนำมาหักลดภาษีในกรณีทั่วไปมีดังนี้ครับ
1. ค่าใช้จ่ายของตัวเราเอง 30,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายของสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย (และไม่ได้แยกคำนวณภาษี) ในกรณีที่สามีหรือภรรยาไม่มีรายได้อีก 30,000 บาท
3. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุไม่เกิน 25 ปี และบุตรมีเงินได้ต่ำกว่า 15,000 บาทในปีภาษีที่ผ่านมา
- บุตรที่มีชีวิตอยู่ รวมกันไม่เกิน 3 คน คนละ 15,000 บาท
- หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตรในระดับอุดมศึกษาภายในประเทศได้อีกคนละ 2,000 บาท
4. เบี้ยประกันภัยที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย อย่างไรเสียก็ไม่เกิน 90,000 บาทครับ)
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 49,000 บาทซึ่งไม่เกินร้อยละ15 ของค่าจ้าง ให้แสดงหักจากเงินได้)
6. ดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
7. เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
8. ค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ ได้อีกคนละ 30,000 บาท (เลี้ยงดูทั้งพ่อและแม่ หักได้ 60,000 บาทครับลูกกตัญญู) และต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา ว่าให้ลูกคนใดใช้สิทธินี้นะครับ
9. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้ถึง 2 เท่าของเงินที่จ่ายไปจริงนะครับ แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว
10. เงินบริจาคสำหรับคนใจบุญ แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนอื่นๆ ข้างต้นแล้วครับผม (คุณผู้อ่านต้องตรวจสอบหน่วยงานผู้รับบริจาค ซึ่งสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีด้วยนะครับ)
11. ลูกที่ทำประกันชีวิตแก่บุพการีคือพ่อและแม่ หรือพ่อแม่สามีภรรยาที่ไม่มีเงินได้ให้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา