โทษทัณฑ์ของเด็ก และ เยาวชน

week4 content2

ท่ามกลางอากาศแสนร้อนอบอ้าวที่มี เปลวแดดระยิบระยับในเดือนมี.ค. - เม.ย. พร้อมกับอุณหภูมิความเร่าร้อนทางการเมืองที่ถึงขีดสุดปรอทแตกจนคนไทยแบ่ง เป็นฝักเป็นฝ่ายออกมาขับไล่ - สนับสนุนผู้นำของบ้านเราอยู่ขณะนี้ แต่ในช่วงต้นเดือน มี.ค.49 ยังมีข่าวหนึ่งที่สามารถแย่งชิงพื้นที่หน้าแรกของหนังสือพิมพ์และทำให้ทุกคน ที่อ่านข่าวตกอกตกใจ ไม่คิดว่าสังคมไทยจะเลวร้ายขนาดนี้ นั่นคือข่าวของวัยรุ่นชาย 30 คน เวียนเทียนรุมโทรมสาววัยรุ่น 2 คน !!! จนถูกตั้งข้อหาร่วมกันโทรมหญิง
เห็นข่าวแบบนี้คุณผู้อ่านบางคน อาจตั้งคำถามถึงบทลงโทษต่อความผิด ของเด็กวัยรุ่นที่ยังเป็นผู้เยาว์ว่ากฎหมายกำหนดไว้อย่างไรบ้าง ? และเพียงพอที่จะทำให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้ที่จะหลาบจำหรือไม่ ? หรือบางคนยังอยากให้โอกาสเด็กเหล่านี้ได้ กลับตัวกลับใจ โดยไม่อยากให้ส่งเด็กที่ทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการทางศาลเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ข้อกฎหมายมีวิธีพิจารณาแน่นอนครับ

สุราและสื่อ…คือสิ่งกระตุ้น
เรื่องที่น่าตกใจในสังคมปัจจุบันคือมีเด็กไทยวัยเพียงแค่ 9-10 ขวบก่อคดีข่มขืน เด็กด้วยกัน !! ทั้ง ๆ ที่ตามหลักสรีระศาสตร์เด็กชายวัยเพียงแค่นี้ยังไม่มีความต้องการทางเพศที่ เกิดจากร่างกายตามธรรมชาติหรอกครับ ส่วนเด็กผู้หญิงที่ถูกข่มขืนก็ยังเป็นแค่ เด็กตัวกระเปี้ยกที่ไม่ได้มีส่วนเว้าส่วนโค้งใดให้เร้าใจเลย หลายฝ่ายจึงเริ่มหาสาเหตุครับว่าแรงจูงใจในการทำความผิดทางเพศของเด็กเหล่า นี้คืออะไรหนอ ก็พบว่าในคดีที่ผู้ กระทำผิดทางเพศที่มีอายุระหว่าง 14-17 ปี มักจะมีเหล้าและสื่อลามกเข้ามาเกี่ยวพันเป็นเหตุจูงใจและผลัดดันครับ ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่านั้นการริทำความผิดทางเพศ เกิดจาก การที่อยากลองทำตามการรับชมภาพ หรือเรื่องราวจากสื่อ เช่น “การ์ตูนลามก” “วีซีดีเอ็กซ์” และสารพัดสื่อในบ้านเราที่ทำให้เด็ก ณ ขณะนั้นรู้สึกว่าการทำผิดทางเพศเป็นเรื่อง ปกติ…ซึ่งเป็นหน้าที่อย่างผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ต้องให้การอบรมขัดเกลา เพราะเขายังเป็นเด็กนะครับ

แยกการพิจารณาคดีจากผู้ใหญ่
กฎหมายกำหนดว่าผู้เยาว์หมายถึงบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสนั่นแหละครับ และเด็กหมายถึงบุคคลอายุระหว่าง 7 - 14 ปีบริบูรณ์ ส่วนเยาวชนคือบุคคลอายุระหว่าง 14 - 18 ปีบริบูรณ์ โดยหากเด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญาหรือมีคดีความทางแพ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นตามขั้นตอนและกระบวนการของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีความแตก ต่างจากศาลของผู้ใหญ่คือศาลอาญาและศาลแพ่ง เช่น ถ้าเด็กต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญาเมื่อตำรวจจับกุมแล้วหลังสอบปากคำแล้ว ต้องรีบจัดการส่งตัวเด็กไปยังสถาน พินิจฯ ภายใน 24 ชั่วโมง และเขาต้องสอบปากคำเด็กและพ่อแม่ รวมทั้งพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีความ สืบเสาะประวัติ ตรวจสอบสภาพจิตใจของเด็ก สภาพครอบครัว สภาพ สังคมชุมชนที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะส่งเรื่องเสนอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณา นอกจากนี้ในระหว่างระยะเวลาของการสอบสวนและพิจาณาคดีนั้นต้องไม่ปะปนกับ ผู้ใหญ่ นะครับ
ตามหลักการของการพิจารณาคดีอาญาในเด็กเช่น ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ รีดไถฯลฯ ศาลจะมุ่งหามูลเหตุจูงใจที่ทำให้เด็กกระทำผิด แล้วดำเนินการแก่มูลเหตุนั้น ๆ ยิ่งกว่าที่จะมุ่งทำโทษเด็ก ซึ่งโดยส่วนใหญ่เด็กมักจะทำความผิดเนื่องจากการหลงผิด คะนอง ขาดวุฒิภาวะ ดังนั้น การส่งตัวเด็กเข้าไปรับการอบรมตามสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นวิธีการทางกฎหมายที่ต้องการลดจำนวนอาชญากรในสังคมครับ

โทษของเด็กอายุ 7 - 14 ปี
โถโถ…เป็นเพียงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี แบบนี้กฎหมายไม่เอาโทษหรอกครับ หาก เกิดเหตุเจ้าหนูน้อยไปทำความผิดตามกฎหมาย เช่นเด็กอายุ 4 ขวบเอามีดปอกผลไม้ไปปักอกพ่อแม่เล่น ๆ จนพ่อแม่ตาย หรือเด็กอายุ 6 ขวบเผลอเอาปืนของพ่อมาส่องจ่อยิงศรีษะ แม่จนตาย แบบนี้แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เด็กไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเลยนะครับ ส่วนเด็กอายุ 7 - 14 ปีบริบูรณ์ที่กระทำความผิด กฎหมายอาญามาตรา 74 ระบุว่าศาลจะพิจารณาดำเนินการตามความหนักเบาของคดีครับ ไล่ไปตั้งแต่การว่ากล่าวตักเตือน หรือวางข้อกำหนดให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองระวังเด็กไม่ให้ก่อคดีตลอดเวลาที่ ศาลกำหนดแต่ไม่เกินระยะเวลา 3 ปีครับ โดยมาตรการสูงสุดคือส่งตัวเด็กคนนั้นไปกักกันและฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้ม ครองเด็กแต่ไม่เกินกว่าที่เด็กคนนั้นจะมีอายุครบ 18 ปี เพื่ออบรมบ่มนิสัยและจัดการกับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นอาชญากรรายต่อไป นั่นแหละครับ

โทษของเยาวชนอายุ 14 - 20 ปี
สำหรับเยาวชนแนว ๆ อายุ 14 - 17 ปี ซึ่งเป็นวัยคึกคะนองและเป็นวัยหัวเลี้ยว หัวต่อนั้น กฎหมายให้ศาลเยาวชนฯ วินิจฉัยว่าสมควรพิจารณาลงโทษผู้นั้นตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าสมควรก็จะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้ลงกึ่งหนึ่งเช่นหากมีโทษจำคุกผู้ใหญ่ 20 ปี ก็จะลดเหลือให้เยาวชนจำคุกแค่ 10 ปี แต่ถ้าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้ศาลเยาวชนฯ พิจารณาดำเนินการตามความหนักเบาของคดีเหมือนเด็กอายุ 7 - 14 ปีครับ ส่วน เยาวชนอายุ 17 - 20 ปี ถ้าศาลเยาวชนฯ เห็นสมควรพิจารณาลงโทษผู้นั้นตามกฎหมาย ก็ให้ลดโทษลงตามความผิดนั้นโดยให้รับโทษ 2 ใน 3 หรือรับโทษกึ่งหนึ่งครับ

เปลี่ยนโทษจำคุก…เป็นโทษกักและอบรม
          เนื่องจากกฎหมายยังมองเห็นว่าคนทุกคนมีสิทธิในการ กลับตัวกลับใจโดยเฉพาะ เด็กและเยาวชน ดังนั้น ศาลเยาวชนฯ จึงมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กแทนการลงโทษทางอาญาคือ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักและฝึกอบรมในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชนตามเวลาที่ศาลพิจารณาตัดสินคดีแต่ไม่เกินกว่าที่เยาวชน คนนั้นจะมีอายุครบ 24 ปี ซึ่งหากศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะ กักตัวหรือควบคุมตัวเยาวชนต่อไปหลังจากที่เขามีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ แบบนี้ศาลจะระบุไว้เลยนะครับว่าจะส่งเยาวชนคนนั้นไปจำคุกในเรือนจำตามเวลา ที่ศาลตัดสินต่อไป ครับผม

คดี 30 โจ๋…รุมโทรมหญิง
สำหรับคดีที่เป็นข่าวครึกโครม สร้างความสะท้านสะเทือนใจไปทั่วประเทศคือ กรณีที่วัยรุ่นชายประมาณ 30 คนใช้อาวุธมีดจี้เด็กวัยรุ่นหญิงอายุ 14 และ 15 ปีไปเพื่อการข่มขืนนั้น ผมถือเป็นคดีตัวอย่างสำหรับการก่อเหตุทางอาญาของวัยรุ่นเลยก็ว่าได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุมีอายุระหว่าง 14 - 18 ปี กำลังเป็นวัยสุดแสบซ่าส์ครับ จากการติดตามข่าวผมทราบว่าวัยรุ่นชายพวกนี้ถูกจับได้ไม่กี่วันหลังก่อเหตุ ครับ และแม้ว่าหลาย คนจะยอมรับสารภาพแต่โทษทัณฑ์ในข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโทรมหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กไม่ยินยอมหรือได้กระทำการข่มขืนโดยการใช้อาวุธประกอบ อย่างนี้ โทษทัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่คือต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียวเลยครับ
แม้คดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษาครบถ้วนทุกทั่วตัวนามที่ร่วมกันกระทำ ผิดต่อเด็ก ผู้หญิง 2 คนนั้น แต่เมื่อนำวิธีการพิจารณาคดีของศาลเยาวชนฯ มาประกอบ เราก็จะพบว่างานนี้ในบรรดา 30 โจ๋มีคนรับผลกรรมแตกต่างกันไปตามอายุครับ เช่นพี่ใหญ่พี่เบิ้มหัว หน้าที่อายุเกิน 20 ปีและร่วมก่อเหตุในคดีนี้ มีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิตเป็นของกำนัลที่จะมอบให้ครับ ส่วนน้องรองที่อายุ 17 - 20 ปี ก็รับโทษครึ่งหนึ่งหรือไม่ก็ 2 ใน 3 ของโทษ ที่ผู้ใหญ่ต้องรับครับ และสำหรับน้องเล็กที่อายุต่ำกว่า 17 ปีลงมาก็อาจถูกส่งไปยังสถานพินิจเยาวชนเพื่อขัดเกลา เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเผลอ ๆ พอพ้นอายุ 24 ปีไปแล้วอาจกลับ ไปชดใช้เวรกรรมในเรือนจำแบบผู้ใหญ่ต่อไปก็ได้นะครับ

ปรับเปลี่ยนโทษ…ไม่ใช่ละเว้นโทษ
คุณผู้อ่านบางท่านอาจตั้งคำถามว่าการลดหย่อนโทษให้กับเยาวชน หรือเปลี่ยน จากการจำคุกในเรือนจำแบบผู้ใหญ่มาเป็นกักและฝึกอบรมในสถานพินิจเยาวชน จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสะสมวิทยายุทธของบรรดาเด็กที่เคยหลงผิดหรือไม่ ? หรือเมื่อ บรรดาเด็กและเยาวชนเหล่านี้พ้นโทษจากสถานพินิจเยาวชนออกไป เขามีโอกาสจะกลายเป็นอาชญากรคนสำคัญเนื่องจากรับการถ่ายทอดประสบการณ์ นวัตกรรมในการทำความ ผิดอย่างหลากหลายมาแล้วหรือไม่ ?
ในฐานะของนักกฎหมายผมไม่อยากให้คุณผู้อ่านคิดแบบนั้นครับ เพราะคงไม่มี ใครอยากทำความผิดหรอกครับ (ยกเว้นคนโรคจิต) เมื่อเด็กและเยาวชนที่เขาอาจบังเอิญหลงทางทำผิดเนื่องจากเขายังไม่มีความคิด สติปัญญาเทียบเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้น การลงโทษ ทางกฎหมายต่อพวกเขาเหล่านั้น ก็ต้องควบคู่ไปกับการให้โอกาสให้เขาเติบโตกลับตัวกลับใจกลายเป็นคนดีในสังคม ต่อไป และการเข้าไปอยู่ในสถานพินิจของเด็กตามคำพิพากษา ของศาลก็เท่ากับเขาขาดอิสรภาพอยู่แล้วครับ นอกจากนี้ในสถานพินิจเขาก็มีวิธีการละลายพฤติกรรม มีนักจิตวิทยา มีนักสังคมสงเคราะห์ สารพัดเจ้าหน้าที่และวิธีการทั้งแบบรุก และรับ ทั้งไม้แข็งไม้อ่อนที่ขัดเกลาเด็กเหล่านั้นอยู่แล้วครับผม

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา