โรคติดต่อและข้อกฎหมาย

Week2 Content1

กฎหมาย...โรคติดต่อ

เรื่องโรคติดต่อร้ายแรงอย่างโรคไข้หวัด 2009 ที่ลุกลามจากประเทศเม็กซิโกแล้วติดต่อไปทั่วโลกในขณะนี้นั้น ไทยเราก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคในพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 ที่เมื่อเกิดโรคติดต่อขึ้นในประเทศทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้และกฎหมายลูกอย่างเคร่งครัด โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะให้อำนาจกับฝ่ายสาธารณสุขและฝ่ายการเมือง การปกครองกำหนดการปฏิบัติตนของคนในประเทศ เพื่อความปลอดภัยของคนส่วนรวม เช่น คนที่เข้าข่ายติดเชื้อโรคก็ต้องกักกัน หรือเขตใดที่มีคนติดเชื้อเป็นจำนวนมากก็ต้องประกาศเป็นเขตติดต่อโรคที่จำ เป็นต้องปิดสถานที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรค ฯลฯ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษนะครับ
อย่างในส่วนบุคคลธรรมดาสามัญอย่างพวกเราๆ ในมาตรา 18 ก็กำหนดโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งของเจ้าพนักงาน สาธารณสุขตามมาตรา 8 (ข้อ 4 หรือข้อ 5 หรือข้อ 6) มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 14 (ข้อ3 หรือข้อ 4) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

 

 

ความผิดอาญา...ของการแพร่โรคร้ายแรง

ในเรื่องของโรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรคเอดส์ ฯลฯ เขาก็มีการถกเถียงกันอย่างมากมายในแวดวงนักกฎหมายนะครับว่าจะสามารถนำตัวผู้ ที่แพร่เชื้อโรคดังกล่าวมารับผิดทางอาญาได้หรือไม่ เพราะทุกครั้งก็แค่ปรากฏเป็นข่าวว่าสาวคนนั้น หนุ่มคนนี้แค้นที่ตัวเองเป็นเอดส์ก็เลยแพร่โรคติดต่อร้ายแรงนี้ให้คนรอบข้าง หลังจากนั้นข่าวคราวก็ซาไป ที่สำคัญก็ไม่ปรากฏว่าคู่กรณีไปแจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลที่แพร่เชื้อแต่ อย่างใด

ในเรื่องนี้นะครับผมขออ้างถึงงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาฯ ปี 2544 ของคุณศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ ที่พบว่า ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายในประมวลกฎหมายอาญาที่นำมาปรับใช้ในการ วินิจฉัยลงโทษผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะโรค เอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และโรคซิฟิลิสมีอุปสรรคในการนำมาบังคับใช้ในการวินิจฉัยความรับผิด เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ต้องการผลของการกระทำ แต่กรณีการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงย่อมอาศัยระยะเวลาในการฟัก ตัวช่วงหนึ่ง จึงจะปรากฏอาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของผู้ถูกกระทำอัน เป็นเหตุให้ไม่อาจดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการแพร่เชื้อโรค และในบางกรณีผู้ติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงที่ได้กระทำการแพร่เชื้อโรคไปอาจ ถึงแก่ความตายก่อนหรือในระหว่างดำเนินคดีอาญา ซึ่งส่งผลให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามหลักประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา
การศึกษาของคุณศิริพรเธอยังเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศในหลายประเทศพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย เขามีการบัญญัติฐานความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรง ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และออสเตรเลียเขากำหนดให้เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผลของการกระทำ กล่าวคือ เมื่อมีการลงมือกระทำการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรง ผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคมีความผิดทันที เช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ และผล

 

ติดโรคจากคนรู้จัก...เรียกค่าเสียหายได้ไหม

ในส่วนของการฟ้องทางแพ่งก็เป็นผลมาจากการกระทำความผิดทางอาญาครับ คือถ้าหากสามารถพิสูจน์ (ในขั้นตอนของศาล) ว่าคุณติดเชื้อจากผู้อื่นจริงๆ หรือผู้อื่นนำเชื้อมาแพร่กระจายให้คุณต้องรับเชื้อดังกล่าว แบบนี้คุณก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลา ค่าเสียโอกาส แต่มันขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล เช่น การซักถาม พยานวัตถุ พยานบุคคล ฯลฯ ว่าการติดเชื้อของคุณเป็นผลมาจากการกระทำของคนอื่นจริงๆ แบบนี้จึงจะเรียกค่าเสียหายได้ครับ

เรื่องโรคติดต่อเป็นเรื่องที่หลีกไม่พ้นหรอกนะครับ เพราะภาวะแวดล้อมของโลกก็ถูกทำลายทุกวัน แน่นอนโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ก็ต้องเกิดขึ้นอยู่เสมอ สิ่งที่ผมยึดถือไว้ตลอดมาก็คือ ออกกำลังกายเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันไว้ก่อนครับ แต่ถ้าออกกำลังแล้วยังต้านทานโรคไม่ได้ก็ต้องไปให้คุณหมอให้เค้าดูแลอาการ ที่สำคัญอย่าเอาโรคไปติดใครนะครับ ชาวบ้านเค้าจะเดือดร้อน

Back

SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา