เปิดข้อดี-เสีย พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่ จากเพจดังด้านกฎหมาย Drama Lawyer

Drama Lawyer เพจดังด้านกฎหมายเผยข้อดี-ข้อเสียพ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่ เผยแก้ไขใหม่ก็โอเค แต่ติดใจในมาตรา 20/4 เหตุคลุมเครือไม่ชัดเจน

จากกรณีที่เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีบางมาตราไม่ชัดเจนแถมมีบทลงโทษที่หนักและกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากเกินไป จนทำให้ผู้คนจำนวนมากออกมาต่อต้าน พร้อมกับร่วมลงชื่อรณรงค์ให้มีการทบทวนและแก้ไขร่างกฎหมายในมาตราที่ยังคลุมเครืออยู่ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

eywwb5wu57mynkott2u5zjdn9ekp4oh0w10saqgkcrkksiteryse5h

เพจดังด้านกฎหมายอย่าง Drama Lawyer ได้มีการโพสต์ข้อความเปรียบเทียบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ทั้งฉบับใหม่และฉบับเก่า เพื่ออธิบายถึงข้อดีและข้อเสีย ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวง่ายขึ้น โดยมีข้อความระบุว่า

ร่าง พรบ.คอมฯ ฉบับใหม่มันน่ากลัวอย่างที่คนบอกกันจริงๆ เหรอ ? หลังจากที่ได้อ่านแล้วเทียบกับตัวเก่าแล้วนะ
มันก็มีทั้งไอ้ที่ปรับแล้วดี กับปรับแล้วแย่ลง

ข้อดี
-เมล์ หรือ ข้อความสแปม มีความผิดแล้วนะ
-มีการปรับเรื่องโทษ ขั้นต่ำและขั้นสูงตามความร้ายแรงของการกระทำ กับค่าปรับในอัตราสูงขึ้น
-มีการเพิ่มฐานการกระทำความผิดบางอย่างให้ร่วมสมัยมากขึ้นหน่อยหนึ่ง
-เรื่องผู้ให้บริการที่จะมีความผิดตาม มาตรา ๑๕ เดิมมันไม่มีแนวทางชัดเจน แต่ฉบับใหม่ ระบุว่าให้รัฐมนตรีออกประกาศและวางแนวทาง การระงับให้ชัดเจน ถ้าพิสูจน์ได้ก็จบ

บางคนบอกข้อนี้ไม่ดี ในฐานะนักกฎหมายอันใหม่ดีกว่านะ อันเก่านะไม่วางแนวทางอะไรเลย ว่า คำว่า ร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ มันต้องยังไง ถ้ามีประกาศชัดเจนก็จะได้เคลียร์ๆ ไป คนบอกไม่ดีอาจคิดมากไปมั้ง
———-

ข้อที่ว่ามันกั๊กๆ และงงๆ

มาตรา ๑๖/๒ ที่วางหลักว่า

สมมุติว่ามีคดีนึงที่เป็นการตัดต่อภาพแล้วลงหมิ่นในระบบอินเทอร์เนต ถ้าภายหลังศาลตัดสินว่าจำเลยผิด แล้ว ศาล “อาจสั่ง” ให้ทำลายภาพที่ตัดต่อนั้นเสียตามมาตรา ๑๖/๑ ซึ่งไอ้คำว่าอาจสั่งมีผลว่าเป็นดุลพินิจของศาลล้วนๆ ไม่ได้สั่งทุกคดีหรอกนะ

ทีนี้มาตรา ๑๖/๒ เนี้ยดันบอกว่าไอ้คนอื่นๆ ที่มีสำเนาภาพ ที่ศาลสั่งให้ลบเนี้ยถือว่ามีความผิด กึ่งหนึ่ง !!!
ที่มันกั๊กๆ เพราะโดยปกติคนเรามันจะรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อเจตนาจะทำความผิด โอเค คนตัดต่อแล้วโพสต์นะมันมีเจตนา… ไอ้คนที่เก็บภาพไว้โดยรู้ว่าศาลสั่งให้ทำลายแล้ว แม่งผิดไปด้วยเฉยเลย ทั้งที่ไม่ได้ตัดต่อนะ แต่มีสำเนาภาพ เช่น รูปที่ส่งต่อกันใน line เป็นต้น

มันไม่ค่อยเมคเซนส์วะ มาตรานี้มีปัญหาเรื่องการตีความแน่ๆ ที่จริงมันต้องแยกฐานความผิดออกไปเลยอีกแขนงจะเหมาะสมกว่า
———-
ข้อที่ว่าไม่โอเค

มาตรา ๒๐ ที่คนเถียงๆ กันเนี้ย ตาม อนุ (๑),(๒),(๓) โอเค
แม้บางคนจะบอกว่า (๒) เนี้ยอาจนำมาซึ่งการกลั่นแกล้งกันได้หรือเปล่าเพราะเจาะจงไปยังหมวด
“ความผิดต่อสถาบัน” แต่ก็อย่างที่ได้เคยเขียนเรื่อง ๑๑๒ เมื่อนานมาแล้วนั้นละ “กฎหมายมันอยู่ของมันเฉยๆ หากคนไม่ทำผิดกฎหมายก็ทำอะไรไม่ได้” ที่จะมีปัญหาจริงๆ ก็ไอ้เรื่องเดิม ซึ่งมันมีตั้งแต่ฉบับที่แล้ว (แต่ทำไมคนเพิ่งมาด่า ? ควรด่ามาตั้งนานแล้ว !!! )

“ศีลธรรมอันดีของประชาชน” กว้างสัส อะไรคือกรอบ ?

มาตรฐานแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่นผู้หญิงนุ่งสั้นแต่พองามน่ารักและไม่โป๊ แต่ป้าข้างบ้านอาจด่าว่า น้องคนนั้นแต่งตัวยังกับ….ก็ได้ กับ อนุ (๔) “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เ่ป็นความผิดต่อกฎหมายอื่น แต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี อาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคำสั่งระงับการทําให้แพร่หลาย หรือลบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้”

อะไร !! ข้อมูลที่ไม่ผิดต่อกฎหมายแต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี !! ก็มันไม่ผิดกฎหมายแล้วมันจะขัดกับความสงบเรียบร้อยยังไงวะ ??

ที่มาของไอ้คณะกรรมการชุดละ 5 คนตามมาตรา ๒๐/๑ ก็คลุมเครือ แล้วก็ไม่รู้ว่า ไอ้คำว่า “กรรมการจากภาคเอกชนสองคน” คัดกรองยังไง ? แล้วไอ้สามคนที่เหลือละ ?? ไอ้ห้าคนนั้นมันมีศีลธรรมอันดีขนาดไหน

มันไม่เคยดูหนังโป๊เหรอ ?
ชีวิตไม่เคยทำบาปเหรอ ?
ที่สำคัญ
มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ ขนาดไหนเหรอ ???
ว่ากันตรงๆ แบบไม่อ้อมค้อม ไอ้มาตราอื่นๆ ในฐานะนักกฎหมายและลงหน้างานเองจริงๆ รับได้

แต่ !!!!!!
พอมี ไอ้ ๑๖/๒ กับ ๒๐ โผล่มา โอเลย
โอ้โห . . . !!!!!!!!!!!!

ถ้าผ่านมาจริงๆ นี้มาตรา ๒๐ (๔) นี้ให้อำนาจภาครัฐมากไปวะ ในระยะยาวถ้าเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามมาตรานี้โดยมิชอบอ้างแม่งดื้อๆ ว่าข้อมูลของมันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี แล้วก็มาลบ ระงับการเผยแพร่ หรือกลั่นกรองข้อมูลต่างๆได้ มันก็คล้ายๆ กับการปิดกั้นการรู้เห็นของประชาชนกลายๆ

โอเคไอ้ข้อมูลบิดเบือนอันนั้นรับได้ถ้าจะระงับ แต่ใครจะมั่นใจได้ว่าจะระงับเฉพาะข้อมูลแค่นั้น ??

@ไรอัน

เพิ่มเติม
ตามมาตรา ๒๐ ทั้งหมดไม่ว่าเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการกลั่นกรองอะไรนั้นนะ สุดท้ายต้องส่งให้ศาลวินิจฉัยนะ เผื่อบางคนไม่ไปตามอ่านกฎหมาย แต่ทั้งนี้ปัญหาจริงๆ มันจะมาอยู่ตรงไอ้คณะกรรมการกลั่นกรองนี้ละ เพราะ ๒๐ (๑)(๒)(๓) มันยังมีหลักการและเหตุผลชัดเจนกว่า ๒๐ (๔)

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่มีการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคําสั่ง ระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้

(๑) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ ในภาคสอง ๒ ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

(๓) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดอาญาต่อตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่สามารถหาตัวผู้กระทําความผิดได้ หรือกฎหมายอื่นซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นหรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ร้องขอ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(๔)ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไมเ่ป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวตามที่ รัฐมนตรีแต่งตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอำนาจยื่นคําร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐาน ต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคำสั่งระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้

คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (๔) ให้มีจํานวน ห้าคนซึ่งสองในห้าคนต้องมาจากผู้แทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

การยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ การไต่สวนคำร้อง และการ ทําคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่งอาจกระทำได้ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเองหรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการ ทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และ วิธีการปฏิบัติสําหรับการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ผู้ให้บริการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยคํานึงถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ศาลจะมี คําสั่งเป็นอย่างอื่น

รัฐมนตรีอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ ระยะเวลาและแนวทางการปฏิบัติสําหรับการระงบั การทําให้แพรห่ ลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ใหบ้ ริการให้เปน็ ไปในแนวทางเดียวกันภายใต้พัฒนาการ ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วน พนักงานเจ้าหน้าที่จะยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่งไปก่อนที่จะได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐมนตรีก็ได้แต่ต้องรายงานให้รัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”

ขอบคุณข้อมูลจาก Drama Lawyer




SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา