สตีเฟน ฮอว์คิง อัจฉริยะด้านฟิสิกส์เสียชีวิตแล้ว

ช็อกโลก!! สตีเฟน ฮอว์คิง อัจฉริยะทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาคนดัง เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 76 ปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา เสียชีวิตด้วยวัย 76 ปี เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา ที่บ้านพักในเมือง เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

โดยรายงานระบุว่า หลังเกิดเหตุสุดเศร้าดังกล่าว ทางครอบครัวของเขา ก็ได้เขียนจดหมาย ระบุว่า “พวกเราเศร้าเสียใจอย่างถึงที่สุด ที่คุณพ่อผู้เป็นที่รักของเราจากไปในวันนี้”

“เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และเป็นชายผู้เก่งกาจเหนือธรรมดา ผลงานและตำนานของเขาจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน” จดหมายระบุ “ความกล้าหาญและความเพียรพยายามของเขา พร้อมด้วยความอัจฉริยะและอารมณ์ขันของเขา สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอีกมากมายทั่วโลก “

“เขาเคยกล่าวไว้ว่า ‘จักรวาลคงไม่มีความหมายเท่าใดนัก หากมันไม่ใช่บ้านของคนที่เรารัก’ พวกเราจะคิดถึงเขาตลอดไป” ลูกๆ ของฮอว์คิงกล่าวผ่านจดหมาย

สำหรับ สตีเฟน ฮอว์คิง เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวัยเด็กเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน จากนั้นเข้าศึกษาต่อสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505

ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในฐานะอัจฉริยะทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีผลงานที่โดดเด่นคือ ‘ประวัติย่อของกาลเวลา’ และเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก

ฮอว์คิงทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ก่อนวันเกิดครบ 21 ปีเพียงไม่นาน ซึ่งขณะนั้นเขายังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 2 ปีเท่านั้น

เขาเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนเสียชีวิตต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม แม้ผู้ป่วย รวมถึงใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นมานานเกิน 50 ปี โรคนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตหลังจากได้รับการวินิจฉัยเพียงไม่กี่ปี แต่ฮอว์คิงกลับมีอายุยืนยาวมานานกว่า 76 ปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของผู้เชี่ยวชาญหลายคน

ด้านชีวิตส่วนตัวเขาแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกกับเจน ฮอว์คิง ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน และมีลูกสามคน ฮอว์คิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา และจักรวาลในเปลือกนัท ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

ส่วนทางด้านแนวคิดของสตีเฟน ฮอว์คิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ ฮอว์คิงเคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า การที่เทคโนโลยีเอไอ หรือปัญญาประดิษฐ์พัฒนาไปถึงขีดสุดอาจเป็นจุดจบของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งเป็นความคาดหมายในทิศทางเดียวกับผู้คร่ำหวอดในแวดวงเทคโนโลยีคนอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังเคยออกมาเตือนมนุษยชาติ ถึงความเป็นไปได้ที่ความก้าวล้ำของมนุษย์ต่างดาวจะสามารถมาบุกโลกได้ พร้อมทั้งยึดโลกเป็นอาณานิคมอีกด้วย ส่วนผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ เจ้าของผลงาน ‘ประวัติย่อของกาลเวลา’

ตัวแปรที่ทำให้เขาได้รับการยกย่องในด้านการทำงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างมากคือเมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520

และเมื่อในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics – เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์คิง กับนิวตันและไอนสไตน์)




SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา