หนุ่มนิสิตนักออกแบบหัวใจศิลป์มักเต็มไปด้วยเสน่ห์

                                      

_MG_6083

ADVISE

                คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้และ

ความสามารถที่จะปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม สามารถค้นคว้าและวิจัย

เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์

อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย

                                               

_MG_6157

DERIVATION

             คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นจากการเรียนการสอนทางด้าน

สถาปัตยกรรม ในวิทยาลัยเพาะช่าง เมื่อปีพุทธศักราช 2473 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีอาจารย์นารถ โพธิประสาท ผู้สำเร็จการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เป็น

ผู้สอน

ในปีพุทธศักราช 2482 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุมัติให้ยกฐานะ แผนกอิสระสถาปัตยกรรม

ขึ้นเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมทั้งปรับหลักสูตร เป็น ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

มีระยะเวลาศึกษา 5 ปี อีกทั้งแต่งตั้งให้ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) เป็นคณบดี

คนแรก ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

SYLLABUS

หลักสูตรปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

1. สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) Bachelor of Architecture (B.Arch.) 3  สาขา

วิชา ได้แก่

1.1  สถาปัตยกรรม  (Architecture)

1.2  สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture)

1.3  สถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture)

2. การวางผังเมืองบัณฑิต (ผ.บ.) Bachelor of Urban Planning (B.U.P.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

2.1   สถาปัตยกรรมผังเมือง (Urban Architecture)

3. การออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต (ออ.บ.) Bachelor of Industrial Design (B.I.D.) 1 

สาขาวิชา ได้แก่

3.1   การออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design)

4. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (หลักสูตร 4 ปี) Bachelor of Arts (B.A.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

4.1  การออกแบบนิเทศศิลป์ (นานาชาติ) (Communication Design)

5. ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.) Bachelor of Landscape Architecture

(B.L.A.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

5.1  ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture)

6. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) (หลักสูตร 4 ปี) Bachelor of Science (B.Sc.) 1 สาขาวิชา

ได้แก่

6.1    การออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ)**  (Architectural Design)

INDA CUTE BOY

IN SARIN RONNAKIAT

                เขาว่ากันว่าหนุ่มนิสิตนักออกแบบหัวใจศิลป์มักจะเต็มไปด้วยเสน่ห์ ว่าแล้วเราไป

ตามติดชีวิตนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกันดีกว่า นำโดย

หนุ่ม CUTE BOY หน้าใส อิน-สาริน รณเกียรติ ที่จะมาแนะทริกการเป็นนักออกแบบสุดติ

สท์อย่างมีสไตล์ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ อย่างแน่นอน

                                      

_MG_6177

แนะนำตัวหน่อยสิ

                สวัสดีครับ อิน-สาริน รณเกียรติ ตอนนี้เรียนอยู่ปี 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาการออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เลือกเรียนทางด้านนี้ เพราะว่าที่บ้าน

ก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับเรียลเอสเตทอยู่แล้ว และชอบการวาดรูปตั้งแต่เด็กๆ ส่วนที่อยากจะเรียนเป็น

อินเตอร์ด้วย เพราะทางอินเตอร์ที่นี่ จะเน้นทั้งดีไซน์และแมเนจเม้นท์ ซึ่งก็น่าจะนำไปใช้งานใน

อนาคตได้มากกว่า

การเตรียมตัวก่อนสอบเข้า

                ก็มีไปเรียนคอร์สติววาดรูป แต่ว่าคอร์สติววาดรูปไม่เหมือนติววิชาการ เรียนเยอะยังไงก็

แฮปปี้สำหรับเรานะ แต่ตอนสัมภาษณ์ค่อนข้างยากหน่อย เพราะว่าต้องสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ

มีอาจารย์ฝรั่งนั่งเรียงกัน 4 คนเลย จำได้ว่าต้องใช้วิธีเกร็งคำถามในกระดาษประมาณ 8 หน้าA4ได้

แล้วท่องอยู่เกือบ 4 วัน แต่พอไปสัมภาษณ์จริงๆ ก็ตอบได้ถูกหมดนะ ก็เกร็งได้หมดเกือบ 100%

เลย

สไตล์การเรียนการสอนด้านออกแบบอินเตอร์

                การเรียนอินเตอร์จะต่างกับภาคปกติหน่อยก็คือ จะเป็นระบบเรียน 4 ปี แล้วก็เขาจะไม่มี

การมาเลกเชอร์ ไม่มีการสอน แต่ว่าจะให้เราไปทำการบ้านข้างนอก แล้วกลับมาพรีเซ้นท์ให้อาจารย์

ดู ในขณะที่ของไทยเราจะเน้นด้าน Construction เยอะหน่อย  แต่อินเตอร์คือจะเน้นการครีเอทีฟ

Thinking เน้นการคิดมากกว่าทำ เพราะว่าสถาปัตยฯ คือการสร้างสิ่งๆ หนึ่งที่มันไม่มีบนโลกให้เกิด

ขึ้นมาบนโลก การครีเอทีฟก็เลยจะสำคัญมาก แล้วในห้องเรียนก็มีนักเรียน 8 คนต่อครูหนึ่งคน ครูจะ

สามารถดูแลเราได้ทั่วถึง ให้เราได้มีโอกาสเสนอผลงาน โชว์ความเป็นตัวเองออกมา แต่เวลา

พรีเซ้นท์ก็มีหลุดบ้างเหมือนกัน เพราะว่าอย่างที่บอกว่าทุกคนจะต้องไปคิดเอง ทำเอง แล้วมา

พรีเซ้นท์พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าของเพื่อนเป็นยังไง แล้วบางทีศัพท์เฉพาะ

ทางก็มีความหมายได้หลายอย่าง บางทีเราก็อาจเข้าใจผิดได้บ้าง เวลาพรีเซ้นท์ก็เป็นเรื่องโจ๊กขำๆ

ไปบ้าง

เรื่องโหดขึ้นชื่อสำหรับเด็กถาปัดฯ

                เรื่องงานเยอะ ขึ้นชื่อสำหรับเด็กถาปัดฯ อยู่แล้ว เรียกว่าผมต้องทำตลอดเวลาที่ลืมตาขึ้น

มา จนกระทั่งหลับตาลงไป 55 แต่ชอบทำกับเพื่อนมากกว่าครับ เพราะจะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน

ได้ ก็จะมีรวมกลุ่มไปทำที่หอเพื่อนบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะทำกัน 24 ชั่วโมงเลยแหละ มีสองช่วงคือ

มิดเทอมกับไฟนอล ที่จะทำติดต่อกัน 3-4 วันเลย ส่วนวิชาโหดก็คงเป็นวิชาหลักคือดีไซน์ เพราะ

การให้คะแนนขึ้นกับอาจารย์ของเรา สไตล์ที่เราชอบอาจไม่ใช่สไตล์ที่อาจารย์ชอบ เพราะว่า

อาจารย์ก็ติสท์แตกเหมือนกัน บางคนเปรี้ยวกว่าเด็กอีก นึกจะใส่เสื้อสีชมพูเรืองแสงทั้งตัวก็ยังใส่มา

เลย 55

เทคนิคการหาไอเดียสุดครีเอท

                ส่วนใหญ่เราต้องหา Reference เก็บข้อมูลหลายๆ อย่าง อ่านหนังสือเยอะๆ เพื่อเอามา

อะแดปใช้กับโปรเจคของเราให้ได้ หรือไม่ก็ถ้าต้องหาไอเดียใหม่ๆ ส่วนใหญ่ผมจะชอบไปเที่ยวนะ

คือให้หลุดจากงานไปเลย ไม่ต้องไปคิดถึงงาน แล้วสักพักมันก็จะเจอแรงบันดาลใจหรือไอเดีย

ใหม่ๆ ขึ้นมาเอง บางทีมันอาจจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้ามไป สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานี่แหละ ที่

เราอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้

                                        

_MG_6225

แก๊งค์เด็กศิลป์สุดติสท์

                ผมว่าที่บางคนมองว่าเด็กถาปัดดูติสท์เข้าไม่ถึง เพราะว่าพวกเราไม่มีเวลาออกไปพบปะ

ผู้คนมากกว่า 55 คือแค่เวลาทำงานก็หมดแล้ว เลยไม่ค่อยได้สุงสิงกับใครเท่าไหร่ เราก็จะสนิทกัน

เฉพาะในคณะนี่แหละ อย่างกลุ่มผมก็มีกัน 4-5 คน ส่วนใหญ่กิจกรรมที่ทำคือทำงาน ทำโมเดลกัน

ในโรงอาหารซึ่งเราจะเรียกว่าถ้ำเสือกับโถงแสงอรุณ ส่วนคำเรียกกันเฉพาะแก๊งค์กลุ่มผมตอนนี้จะ

ฮิตคำว่า “เจน” เอามาจากชื่อเพื่อน คือถ้าพูดถึง “เจน” จะหมายถึงเพื่อนผู้หญิงตัวใหญ่ แล้วเวลา

ใครจะด่าอะไร จะด่าด้วยคำนี้กัน 55

กิจกรรมประทับใจ

                มีหลายกิจกรรม ตั้งแต่รับน้อง แล้วก็ไปเชิญธงในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์

ครั้งที่ 70 ที่ผ่านมาครับ และล่าสุด ก็ไปถ่ายเบื้องหลังโฆษณาเชิญชวนให้คนไปดูละครของถาปัดฯ

เรื่อง “PETER PAN” ก็อย่าลืมไปดูกันนะครับ เป็นละครที่ดีมาก ส่วนงานด้านบันเทิงข้างนอก ตอน

นี้กำลังเตรียมตัวจะเป็นดีเจที่ CLICK 98.5 ครับ

ความประทับใจที่มีต่อคณะและมหาวิทยาลัย

                ผมว่าคณะนี้เปรียบเหมือนเป็นครอบครัว เพราะเราสนิทกันมาก เราอยู่ด้วยกันเหมือนเซ

เว่น 55 อยู่ด้วยกันตลอด 7 วันเลย เพราะต้องทำโปรเจคด้วยกัน มันก็เลยผูกพันกัน เรียนที่นี่ปีเดียว

เหมือนเรียนคณะอื่น 4 ปี ก็คิดว่าเป็นข้อดีของคณะนี้จริงๆ ส่วนมหาวิทยาลัย ผมภูมิใจในความเป็น

จุฬาฯ คำว่า “จุฬาฯ” มันเหมือนเป็นชื่อติดหลังเราตลอดเวลา ทำอะไรเราก็ต้องคิดถึงมหา’ลัยไว้ก่อน

แล้วเราก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากมหา’ลัยนี้มาก เราก็อยากจะมีโอกาสตอบแทนหรือทำ

กิจกรรมให้กับมหา’ลัยด้วย

ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเป็นเด็กออกแบบแบบอินบ้าง

                อันดับแรกคงต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบด้านนี้จริงๆ หรือเปล่า อย่าเรียนตามเทรนด์ หรือ

เรียนเพราะคิดว่ามันง่าย เพราะว่าถาปัดฯ ไม่เหมือนวิศวะหรือวิชาเลขที่จะมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่มัน

ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าว่าชอบแบบไหน ไม่มีเกณฑ์ตัดสินว่าคนส่วนใหญ่จะชอบงานของเรา อัน

นี้แหละมันคือความยาก แต่ถ้าคิดว่าชอบ ก็อยากให้ทุ่มเทกับมันจริงๆ เพราะคณะไม่ได้สอนแค่ใน

หลักสูตร แต่เรายังได้เรียนเรื่องระบบการจัดการชีวิต ทำให้เรารู้จักแบ่งเวลามากขึ้น เข้ากับคนมาก

ขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น คณะนี้สอนให้เราได้เจอกับประสบการณ์ในชีวิตจริงๆ ที่เรา

สามารถจะนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตได้

PETER PAN TEAM

ผู้กำกับ โดม-นวสิทธิ์ วิทยากรณ์ ปี 3 ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม

“ผมสนใจทางด้านนี้ ก็เลยเลือกมาเรียนคณะนี้ พอมาเรียนจริงๆ ก็รู้สึกสนุกกับการเรียน สนุกที่เราได้

มารวมกลุ่มกันทำงานกับเพื่อนๆ มาอยู่ด้วยกันจนเบื่อหน้ากันไปเลย 55 แต่มีอะไรเราสามารถคุยกัน

ได้ทุกเรื่อง ส่วนเรื่องละคร ตอนนี้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับละครเรื่อง PETER PAN ซึ่งเป็นละครของ

คณะ ส่วนใหญ่จะจัดทุกปี ที่มาของเรื่อง PETER PAN คือทุกคนน่าจะเคยมีเรื่องนี้อยู่ในหัว มัน

เหมือนเป็นความฝันในวัยเด็กของใครหลายๆ คน รวมถึงผมด้วย ก็เลยอยากจะชุปชีวิตมันขึ้นมาอีก

ครั้ง โดยเราจะนำต้นฉบับดิสนีย์มาดัดแปลงให้คนดูได้รับมากกว่าเดิม ไอเดียหลักที่จะใช้คือเรื่อง

แสงและเงา เน้นงานโปรดักชั่นค่อนข้างมาก ซึ่งรับรองว่าคนดูจะไม่เคยเห็น  PETER PAN

ในเว่อร์ชั่นนี้มาก่อนแน่ๆ ตอนนี้ก็เปิดขายบัตรแล้วที่หน้าคณะและสยามสแควร์วัน โดยเริ่มฉาย 30

กรกฎาคม-2 สิงหาคม และ 6 สิงหาคม-9 สิงหาคม 2558 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร คณะบัญชี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยากให้ไปชมกันเยอะๆ นะครับ และดูรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่

www.facebook.com/lakorntapadcu ครับ”

นักแสดง มีมี่-พัทธวรรณ สุกทน ปี 5 ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง, อั่งเปา-ศิวกร

สว่างศรี ปี 5 ภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย  

                “หนูกับอั่งเปาเคยได้ร่วมแสดงมาตั้งแต่ปี 1 ค่ะ พอมาปีนี้ก็เลยได้มีโอกาสมาร่วมอีกครั้ง

แต่ละครของถาปัดฯ จะไม่ได้เรียกว่าแคสติ้งหรือออดิชั่น แต่จะเรียกกันว่า Try Out คือนักแสดงทุก

คนที่เข้ามาทั้งหมด 30 คน จะเข้ามาลองซ้อมไปพร้อมๆ กัน แล้วผู้กำกับและทีมงานก็จะคอยดูว่า

แต่ละคนเหมาะกับบทไหนบ้างค่ะ ซึ่งมันถือว่าเป็นข้อดีของละครคณะเราที่ค่อนข้างจะแตกต่างจาก

คณะอื่นอยู่ แต่ว่าในฐานะของเราที่เป็นนักแสดง เราก็ต้องเล่นได้ทุกบทบาทตามที่ผู้กำกับมอบให้

และก็รู้สึกเต็มที่กับทุกกิจกรรมที่ทำ ซึ่งก็เป็นความประทับใจอย่างหนึ่งของพวกเราชาวถาปัดฯ ที่ได้

มารวมกลุ่มทำกิจกรรมเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน”




SOCIAL NETWORK

Mono Mobile

แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์

Mono Technology

อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007

TAGS

บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา