ถ้าพูดถึงสาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี ถือเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในประเทศไทยที่น่าสนใจ และมีการเรียนการสอนในประเทศไม่มากนัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มองเห็นถึงแนวทางที่จะพัฒนาการศึกษาในศาสตร์นี้ให้นิสิตนักศึกษาที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้เริ่มต้นตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงเอก สร้างเด็กวิศวะนิวเคลียร์รุ่นใหม่ที่จะจบไปพัฒนาประเทศให้มากยิ่งขึ้น
INSPIRATION
จากเด็กหนุ่มที่มีความมุ่งมั่นและมีความชอบในสายงานที่ท้าทายและ ขณะนั้นถือว่ายังใหม่ในประเทศไทย จนได้ทุนเรียนต่อในสายนี้ในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาเกือบ 11 ปีกับการเรียนรู้ที่ลงลึก ทำงานวิจัย และเห็นช่องทางการพัฒนาต่อยอด จนได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนประจำภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
HOW TO WORK
จุดเริ่มต้นการเป็นอาจารย์สอนประจำภาควิชา
“การเรียนที่อเมริกา ถือเป็นการเรียนที่ต้องช่วยเหลือตัวเองค่อนข้างเยอะ เพราะที่โน่นนั่นจะมีวิชาหลากหลายให้เราเลือกเรียนได้เอง แต่ก็สนุกดี ถึงแม้พอเรียนลึกไปเรื่อยๆ เริ่มยากขึ้น แต่เป็นสิ่งที่เราชอบ แล้วเราให้ความสนใจกับมัน ก็เลยไม่มีปัญหาในการทำความเข้าใจมากนักแล้วเราเลือกเรียนทางสาขาพลาสมาและฟิวชั่น ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ การเรียนมันก็ต่อเนื่อง จากระดับปริญญาตรีไปเอกเกือบสิบปี และหลังจากจบปริญญาเอก ก็อยู่เป็นผู้ช่วยวิจัชัยในแล็ปของอาจารย์ต่ออีกหนึ่งปี ถึงได้กลับมาทำงานประจำที่นี่เลยพอได้มาเป็นอาจารย์ครั้งแรก เปรียบเทียบกับตอนที่เราเป็นนักศึกษาที่โน่น นั่น คงเป็นเรื่องของการปรับตัวมากกว่า สังเกตว่านักเรียนนิสิตของเราไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองโต้ตอบในห้องเรียน ซึ่งมันก็คือไม่ใช่แค่บ้านเรา แต่น่าจะเป็นเป็นวัฒนธรรมของคนเอเชียนี่แหละ ซึ่งการเรียนสมัยใหม่จะเน้นให้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เข้าใจส่วนไหน เราก็ต้องพยายามให้มีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น รวมถึงตอนนั้นนี้ภาควิชาก็ยังค่อนข้างเล็ก เพราะเพิ่งเปิดปริญญาตรีสาขานี้แค่ 3 ปี ก็อาจจะมีรุ่นพี่ที่จะช่วยรุ่นน้องได้ไม่เยอะ เราก็ต้องพยายามปรับระบบรุ่นพี่รุ่นน้องเรื่อยๆ จนตอนนี้ก็เริ่มเห็นชัดขึ้น เพราะเรามีการเรียนระดับปริญญาตรีเพิ่มเข้ามา”
คุณสมบัติเด่นสำคัญสำหรับหนุ่มสาววิศวกรรุ่นใหม่
“ผมคิดว่าเรื่องของความรู้พื้นฐานทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ถ้าทุกคนขยัน ทุกคนก็สามารถเรียนได้ อีกอย่างคงเป็นเรื่องของความชอบ ถ้าเราชอบทำงานด้านวิศวกร และสนใจด้านนิวเคลียร์และรังสีเป็นพิเศษ ตรงนี้ก็เป็นทางที่เหมาะกับนิสิตที่เข้ามาเรียนทุกคน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับคนที่จะทำงานทางด้านนี้ผมว่าน่าจะเป็นความชอบในการแก้ปัญหา ถือเป็นคุณสมบัติของวิศวะทุกสาขาเลยก็ว่าได้ เวลาเห็นปัญหาแล้วเราชอบอยากที่จะลองคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาหรือเปล่า ถือเป็นคุณสมบัติของวิศวะทุกสาขาเลยก็ว่าได้ เรื่องของตรรกะหรือLOGIC มันก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานวิศวกรทุกด้าน มันซึ่งเป็นทักษะที่ไม่ได้มีการสามารถสอนกันโดยตรงได้แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับตัวทำความเข้าใจด้วยตัวเอง”
การต่อยอดวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีในสายอาชีพ
“เมื่อก่อนคนอาจจะยังไม่รู้ว่าวิศวกรนิวเคลียร์และรังสีจะไปอยู่ที่ไหนบ้าง งานบางงานที่วิศวกรนิวเคลียร์และรังสีถนัด แต่เขาอาจไม่รู้ว่าอันนี้เป็นงานของที่วิศวกร เราเชี่ยวชาญเพราะถ้าเมื่อพูดถึงสาขาวิชาวิศวกรรมเรื่องนิวเคลียร์และรังสี ทุกคนจะคิดถึงเรื่องระเบิดหรืออุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่ง มันเป็นในแง่ลบส่วนใหญ่ แต่ศาสตร์ด้านจริงๆ นิวเคลียร์และรังสีถูกใช้มานานแล้วทั้งในและต่างประเทศอาจจะและไม่ได้เน้นไปที่ด้านพลังงานหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วนิวเคลียร์รวมถึงรังสีรวมถึงการสร้างและการใช้ด้วย อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสีในด้านอื่นๆที่ใช้ด้วย เช่น ในอุตสาหกรรมในด้านอุตสาหกรรมเราสามารถเอารังสีไปช่วยในตรวจวัดสินค้าโดยไม่ทำลายหรือปรับปรุงวัสดุได้ ในด้านความมั่นคงก็มีการใช้รังสีสำหรับตรวจวัดคลังสินค้า ตรวจจับสารเสพติดหรือพวกเครื่องเอ็กซเรย์ตามสนามบินที่เราเห็น หรือทางในด้านการแพทย์ก็มีการนำรังสีไปใช้ในการวินิจฉัยโรคและมารักษามะเร็งได้ซึ่งมันเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเป็นสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราของเราอยู่แล้ว แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่านี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนิวเคลียร์และรังสีการเรียนการสอนของเราก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปดูสถานปฏิฎิบัติการต่างๆ ทั่งในต่างประเทศ ซึ่งปกติหน่วยงานด้านนิวเคลียร์และรังสีเช่นสถาบันวิจัยหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะค่อนข้างปิดเพราะต้องระวังในเรื่องของความปลอดภัยและความมั่นคง ไม่ใช่อยู่ดีๆ อยากไปเข้าไปดูโรงไฟฟ้าก็ไปได้ มันเป็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัย แต่เราก็มีการให้นิสิตได้ไปฝึกงานตรงนั้นเพื่อดูสถานที่จริงๆ นักศึกษาที่จบไปตอนนี้ก็สามารถทำงานได้ในหน่วยงานที่หลากหลายมากขึ้น”
THINKING TO CAMPUS
“สำหรับน้องๆ ที่สนใจในภาควิชาของเรา เราจะมีรหัสรับตรงแยกออกมา คือ จฬ007 หรือเจมส์บอน จะเปิดในรอบที่ 3 และ 4 นี้แล้ว ทุกปีเราจะรับในระดับปริญญาตรีแค่ 20 คน ถ้าคิดว่ารู้ว่าวิศวกรรมนิวเคลียร์เรียนอะไรแล้วสนใจก็สมัครเข้ามาเลย หรือจะลองมางาน OPEN HOUSE หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ FB : NuclearChulaEngineeringก็ได้ แล้วตอนนี้ทางภาควิชาก็กำลังจะขยายในเรื่องเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค โดยมีความร่วมมือกับประเทศจีน ที่ผ่านมานิสิตปริญญาโทและเอกของเราที่จบไปส่วนหนึ่งก็ทำงานในบริษัททางด้านเครื่องเร่งอนุภาคกันเยอะ เพราะเขาชอบวิศวกรจากภาควิชาของเรา ที่มีความรู้พื้นฐานทั้งในส่วนของไฟฟ้า เครื่องกล และรังสี ซึ่งการเรียนสามตัวนี้รวมกันจะเป็นพื้นฐานสำหรับคนที่เรียนนิวเคลียร์ ที่จะนำความรู้ทั้งหมดไปใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย”
Mono Mobile
แหล่งรวบรวมคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบวิดีโอคลิป สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการใช้งานหลากหลายอุปกรณ์
Mono Technology
อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ทาวเวอร์ เลขที่ 200 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 เบอร์โทร 021007007
TAGS
บันเทิง, ข่าวสาร, ก็อซซิป, คลิปตลก, คลิปเด็ด, ดูดวง, เพลงฮิต, เกม, ความรัก, กีฬา