เดินเล่นชิลๆ กับ 15 ตลาดนัดกลางคืนยอดฮิต ในกรุงเทพฯ

1

ตลาดนัดกลางคืน ดูจะเป็นที่ยอดฮิตของวัยรุ่นและผู้คนทั่วไปเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการเปิดร้านตามย่านต่างๆ มีคนเดินกันให้ขวักไขว่ ซึ่งในตลาดนัดก็จะมีของกิน เสื้อผ้า ร้านอาหาร หรือจะเดินเล่นชิวๆ บางที่มีกิจกรรม ดนตรีสด รวมไปถึงสิ่งของสไตล์วินเทจ วันนี้ travel.mthai ขอแนะนำ 15 ตลาดนัดกลางคืน ให้เพื่อนๆ ได้ไปเช็คอินกันหน่อยดีกว่า เผื่อใครไม่รู้จะไปไหน หรือเบื่อที่ต้องอยู่บ้าน โทร.หาเพื่อนแล้วไปชิวกันเลย ^^

เดินเล่น ช้อป แช๊ะ ชิม ชิล กับ
15 ตลาดนัดกลางคืนยอดฮิต
ในกรุงเทพฯ

2

  1. JJ Green – จตุจักรกรีน

ที่ตั้ง :  ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร, เขต จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ห่างจากตลาดนัดจตุจักรเพียง 100 เมตร

เวลาเปิด-ปิด :  พฤหัสบดี-อาทิตย์ 10:00 – 21:00

เบอร์โทรศัพท์ : 092 461 5951

ข้อมูลเพิ่มเติม : Facebook JJ Green – จตุจักร กรีน

3

  1. ตลาดนัดเลียบด่วน รามอินทรา(เลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์)

ที่ตั้ง :  ถนน ประดิษฐ์มนูธรรม แขวง ท่าแร้ง เขต บางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 ถนนรามอินทรา ตัดกับ เลียบทางด่วน ใกล้แยกวัชรพล

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 17.00 -02.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 086 123 1234

ข้อมูลเพิ่มเติม : Facebook ตลาดนัดเลียบด่วน รามอินทรา

4

  1. ตลาดนัดหัวมุมMarket & More (ตลาดนัดรถโบราณ เกษตร-นวมินทร์)

ตลาดนัดกลางคืนเปิดใหม่ย่านถนนเลียบด่วนรามอินทราตัดกับถนนเกษตรนวมินทร์

ที่ตั้ง : 11 ถนน เกษตร-นวมินทร์ แขวง ลาดพร้าว เขต ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230

เวลาเปิด-ปิด : วันอังคาร-อาทิตย์  17:00 – 0:00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 082 867 9224, 081 422 0976, 089 533 5651

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก หัวมุม Market & More

5

  1. ตลาดนัดรถไฟ เกษตร-นวมินทร์

ที่ตั้ง : ถนน เกษตร-นวมินทร์ แขวง นวมินทร์ เขต บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230 (ประมาณตอม่อที่ 248)

เวลาเปิด-ปิด : วันพฤหัส – อาทิตย์ เวลา 17.00-01.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 092 359 8877, 092 359 7117, 092 331 9977

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก ตลาดนัดรถไฟ เกษตร-นวมินทร์ : Train Night Market Kaset-Nawamin

6

  1. ตลาดรถไฟ รัชดา

ที่ตั้ง : 10400 322/289 ซอย อยู่เจริญ แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาเปิด-ปิด : วันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์ เวลา 17.00-01.00น.

เบอร์โทรศัพท์ : 092-713-5599, 092-713-5577, 092-685-7979

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก ตลาดนัดรถไฟ รัชดา : Train Night Market Ratchada

7

  1. ตลาดรถไฟ ศรีนครินทร์

ที่ตั้ง : ถนน ศรีนครินทร์ เขต ประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250

เวลาเปิด-ปิด : โซนพลาซ่า เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ และโซนตลาดนัด เปิดวันพุธ และศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00-24.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 081-8275885, 086-1267787, 081-7328778

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก ตลาดนัดรถไฟ

8

  1. ARTBOX REBEL @จตุจักร

ARTBOX ตลาดคอนเทนเนอร์สุดชิคกลับมาเปิดให้เพื่อนๆ ได้ “แชะ ชิม ช็อป” ฟีลกู๊ดไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้จัดใหญ่ อลังการกว่าเดิม มีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ ลานเบียร์ เสื้อผ้าแฟชั่น ศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมอื่นๆ มากมาย มาฟินกันยาวๆ ได้เลย เริ่มตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 30 เมษายน 2560

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 12.00-23.00 น.
การเดินทาง : ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีกำแพงเพชร ทางออกที่ 1
ข้อมูลเพิ่มเติม : Facebook Artboxthailand

9

  1. ตลาดนัด ตะวันนา

ที่ตั้ง : ถ.ลาดพร้าว ใกล้ห้างเดอะมอลล์บางกะปิ คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 10:00 – 21:00 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม : Tawannashoppingpark – ตะวันนาช้อปปิ้งปาร์ค

10

  1. สวนจตุจักร (เฉพาะกลางคืน วันศุกร์)

รู้กันดีกว่า สวนจตุจักร แหลางช้อปปิ้งสุดฮอตนี้จะเปิดขายเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ แต่รู้ไหมว่าคืนวันศุกร์นั้น ที่นี่ก็เริ่มเปิดขายของแล้ว มีทั้งเสื้อผ้า ของกิน ให้เลือกกันเยอะมากๆ แถมเสื้อผ้าและของใช้ยังขายถูกกว่าราคาวันเสาร์-อาทิตย์ซะอีก

ที่ตั้ง : สวนจตุจักร

เวลาเปิด-ปิด : เฉพาะวันศุกร์ ตั้งแต่ 21.00 – 02.00 น.

11

  1. ชุมทางสยามยิปซี (Siam Gypsy Junction) เตาปูนบางซ่อน

ที่ตั้ง : ตรงรางรถไฟบางซ่อน ตรงตลาดบางซ่อน

เวลาเปิด-ปิด : วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่ 17.00 – 01.00 น

12

  1. Indy Night Market @ THE PLATINUM FASHION MALL ( PRATUNAM )

ตลาดนัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอย่างห้างแพลตตินั่ม หลังจากที่เดินช้อปปิ้งในห้างแล้ว ตกเย็นก็จะมีพ่อค้าแม่ค้า ออกมาขายของกันเต็มพื้นที่ ซึ่งมีของให้เลือกซื้อหลากหลาย รวมถึงของกินที่ตั้งเป็นแบบ Food Truck คอยบริการความอร่อยทั้งอาหารและเครื่องดื่มด้วย

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน ช่วงเย็นยาวไปจนถึงห้าทุ่ม

ที่ตั้ง : The Platinum Street ด้านหน้า The Platinum Fashion Mall Pratunam

ข้อมูลเพิ่มเติม : เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ ประตูน้ำ

13

  1. สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก

ที่ตั้ง : 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร กรุงเทพฯ

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 16.00-24.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 02 938 1471

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก Suan Lum Night Bazaar Ratchadaphisek

14

  1. The Knack Market

ที่ตั้ง : ตลาดเล็ก ๆ ย่านคลองสาน โครงการ The Jam Factory ถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันเสาร์-อาทิตย์สิ้นเดือน เวลา 16.00-21.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 02 861 0950

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก The Knack Market

15

  1. โซพาซ่าส์ (Sobazaar)

ตลาดนัดใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปี 2558

ที่ตั้ง :  หน้าอาคารดีดีมอลล์ ถนนกำแพงเพชร 2 อยู่ตรงข้ามกับสวนจตุจักร

เวลาเปิด-ปิด : วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 12.00-24.00 น.

เบอร์โทรศัพท์ : 02 319 3240

ข้อมูลเพิ่มเติม : เฟซบุ๊ก โซพาซ่าส์ Sobazaar

 

๙ สถาน ๙ ความทรงจำ ทำให้คิดถึงพ่อ

1

เชื่อว่าเวลานี้ นานาสถานรอบเกาะรัตนโกสินทร์เป็นผืนดินที่อบอวลไปด้วยความคิดถึง นับจากหมู่มวลประชาที่หมุนเวียนกันไปเข้ากราบพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนิทรรศการ เย็นศิระฯ แล้ว ยังมี ๙ สถาน ๙ ความทรงจำ ทำให้คิดถึงพ่อ

๑. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

2

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งคู่ราชวงศ์จักรี ไว้สำหรับประกอบพระราชพิธี และ พระราชกุศลต่างๆ รวมถึงเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพและพระศพ ซึ่งขณะนี้ได้ประดิษฐาน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

๒. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

3

วัดพระแก้ว เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น  โดยมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยาม และเมื่อเปลี่ยนฤดูกาล ในหลวง รัชกาลที่ ๙ จะทรงพระราชดำเนินมา ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

วัดพระแก้ว ติดอันดับ 3 จากสถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก ด้วยสถิติการเข้าชมถึง 8 ล้านคนต่อปี

๓.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จัดโครงการ “บันทึกภาพน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ให้ประชาชนได้ร่วมบันทึกภาพที่ระลึก ว่าครั้งหนึ่งเคยเดินทางมากราบ พ่อหลวง เพื่อเป็นความทรงจำและเป็นมิ่งขวัญของชีวิตสืบไป

5
(ตัวอย่างภาพที่ระลึก ประชาชนทั่วไปสามารถบันทึกภาพและรอรับภาพได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)

ประชาชนสามารถเดินทางมาถ่ายภาพได้ที่ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชั้น 1 ในวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เริ่มตั้งแต่ 19 พฤษภาคม – 19 ตุลาคม 2560

๔. ถนนหน้าพระลาน

6

ถนนหน้าพระลาน บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร ฝั่งตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว เป็นย่านที่มีกลิ่นอายของบรรยากาศในช่วงกลางยุครัตนโกสินท์ อีกทั้งยังมีตึกแถวสไตล์ยุโรปเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนตึกแถวริมถนนหน้าพระลานเป็นโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ. 2543 และเมื่อใดที่มีพระราชพิธี เรามักจะเห็นประชาชนเดินทางมาเพื่อรอรับเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ อยู่เสมอ ถนนแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนการรวมใจคนไทยเพื่อแสดงความเคารพต่อพระองค์ท่าน

๕. ศาลหลักเมือง

7

ที่สถิตของ เสาหลักเมือง ถูกสร้างพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ในรัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสาหลักเมืองได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ และถูกอัญเชิญไปประดิษฐานคู่กัน ต่อมาศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ ๙ เพื่อเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

8 9

ในอดีต พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดจึงกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชม ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อาณาจักรล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์

10

ในขณะนี้เป็นสถานที่ซึ่งใช้บูรณะ พระมหาพิชัยราชรถ เพื่อใช้ใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

๗. ท่ามหาราช

11
(ขอบคุณภาพ : facebook Tha Maharaj)

ท่ามหาราช เป็นท่าเรือที่ปรับปรุงจากท่าเรือเล็กๆ รับส่งผู้โดยสารไปที่ วัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบุรี ให้กลายเป็นท่าเรือที่มีสีสันด้วยคอมมิวนิตี้มอลล์ และจุดชมวิวเจ้าพระยา เชื่อว่าทุกครั้งที่มองออกไป สายตาต้องพลันไปหยุดที่ศิริราช หนึ่งในสถานแห่งความทรงจำถึงพ่อ

๘. พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

12

เดิมเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้า ต่อมา รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้สร้างเป็นโรงกษาปณ์สิทธิการขึ้น แต่ภายหลังได้มีการโยกย้ายออกไปและถูกปล่อยร้าง จนกระทั่งครบรอบ ๑๐๐ ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากรได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ประเภทศิลปะสมัยใหม่ และเสนอขอปรับปรุงให้เป็น พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

13
(ตัวอย่างผลงานฝีพระหัตถ์ของ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ )

ปัจจุบัน พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เป็นที่แสดงผลงานศิลปะของศิลปินหลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และ เฟื้อ หริพิทักษ์ รวมถึงผลงานศิลปะจากฝีพระหัตถ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ถูกจัดแสดงไว้ที่นี่ด้วย

๙.อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา

14

อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในวิกฤติการเมือง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีพระเมตตาช่วยเหลือประชาชน ด้วยการสั่งให้มหาดเล็กเปิดพระราชวังสวนจิตรลดาให้เข้ามาหลบภัย และยังทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่บาดเจ็บจากการปะทะ ณ โรงพยาบาลศิริราช

๙ สถานเหล่านี้เป็นเพียงตัวแทนส่วนหนึ่งให้คิดถึงพ่อ เพราะแท้จริงแล้ว ทุกแห่งหนที่เราคนไทยยืนอยู่นั้น เป็นแผ่นดินซึ่งเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ความเสียสละอันมหาศาลอย่างหาที่เปรียบมิได้

– ไม่มีวันไหนไม่คิดถึงพ่อ –