ความเรียบง่ายและพอเพียงใน เครื่องเสวย ของในหลวง ร.9

1

ความเรียบง่ายและพอเพียงของพ่อหลวง ร.9 นั้น นอกจากเรื่องการดำเนินชีวิตแล้ว ยังรวมไปถึงเรื่องของเครื่องเสวยอีกด้วย เราจึงได้นำส่วนหนึ่งของบทความที่ คุณดวงฤทธิ์ แคลัวปลอดทุกข์ Food Stylist ได้เขียนไว้ โดยนำข้อมูลมาจากบทสัมภาษณ์คุณหญิงประสานสุข ตันติเวชกุล (ในขณะนั้น) ต้นเครื่องพระตำหนักจิตรลดาฯ จากหนังสือ ‘เครื่องต้น ก้นครัว’ ครัวจิตรลดา จัดทำโดยสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ไม่ระบุปีที่พิมพ์ มาเรียบเรียงให้ทุกท่านได้อ่านกัน

2

ความเรียบง่ายและพอเพียงใน เครื่องเสวย ของในหลวง ร.9

3

หนังสือ ‘เครื่องต้น ก้นครัว’

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านเสวยง่ายค่ะ เสวยได้ทุกอย่างที่ตั้งเครื่องถวาย เพียงแต่ไม่ทรงโปรดรสจัดทุกประเภทเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเกี่ยวกับอะไร ไม่ลำบากเลย ไม่หนักใจเลยค่ะ ตัวอย่างนะคะ

อย่างมื้อเช้าจะเป็นข้าวต้มสองแบบสลับกันไป ระหว่างข้าวต้มเครื่องกับข้าวต้มกับ กับข้าวต้มนี่ก็ธรรมดามาก อย่างที่เรารับประทานกันนี่แหละค่ะ เช่น หัวไชโป๊วผัดไข่ ไข่เค็ม ยำปลาสลิด ผัดหนำเลี๊ยบ หรือไข่เจียว ทรงโปรดเสวยง่ายๆ เหมือนสามัญชน… ยำกุ้งแห้งจะต้องหั่นขิงเป็นฝอยใส่โรยลงไปด้วย หั่นพริกขี้หนูเป็นฝอย ถ้ามีเต้าหู้ยี้ก็จะมีพริกและมะนาวฝานเป็นชิ้นเคียงกันไปด้วย ตั้งเครื่องอะไรก็ทรงเสวยหมด บางมื้อมีถั่วลิสงคั่ว ปลาหมึกเค็มทอด ต้มจับฉ่าย เต้าหู้เค็ม และพวกพะโล้มีทั้งไก่ ทั้งหมูแล้วก็ไข่ด้วย…โดยทุกอย่างต้องรสกลมกล่อมพอดี ไม่จัดมากค่ะ”

จากบทสัมภาษณ์คุณหญิงประสานสุข ตันติเวชกุล(ในขณะนั้น) ต้นเครื่องพระตำหนักจิตรลดาฯ จากหนังสือ “”เครื่องต้น ก้นครัว” ครัวจิตรลดา จัดทำโดยสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ไม่ระบุปีที่พิมพ์

4

รูปภาพ “ข้าวต้มกับ” จากร้านอาหารไทย The Never Ending Summer Food stylist ; Duang-rithi Claewplodtook Photographer ; Vipa Vadi

น้ำพริกทรงโปรด

5

รูปประกอบ “น้ำพริก ปลาทูทอด” จากนิตยสาร HARPER’S BAZAAR THAILAND และนิตยสาร HARPER’S BAZAAR SPAIN Food Stylist; Duang-rithi Claewplodtook ช่างภาพ; Sansithi Koraviyothin

หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ เคยเล่าไว้ในหนังสือ “ชีวิตในวัง” ว่า ในสำรับเครื่องเสวยเจ้านายในสมัยก่อน จะต้องมีปลาทูทอดพร้อมน้ำพริกต่างๆตามฤดูกาลขึ้นตั้งเครื่องทุกครั้งไป จะเสวยหรือไม่ไม่รู้ แต่ต้องมีทุกครั้งที่ตั้งเครื่องไทย โดยคนตั้งสำรับจะถอดก้างออกให้หมด เรียงด้านสันหลังปลาตั้งขึ้น อัดลงในหีบเงินแท้ที่รองด้วยใบตอง

พอหมดฤดูปลาทูแล้ว ก็หมดกัน
วิธีเก็บปลาทูไว้กินตลอดปีของคนโบราณ คือ ทอดให้เหลืองกรอบ อัดใส่ไหซอง เทน้ำมันหมูร้อนๆลงท่วมตัวปลาถึงปากไห ปิดฝา ยาซีเมนต์กันอากาศเข้า พระวิมาดาเธอฯ โปรดฯให้ห้องเครื่องทำไปประทานพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่เมืองเชียงใหม่ ไว้เสวยได้ตลอดปี เมื่อจะเสวยนำมาทอดใหม่ให้เหลืองกรอบ หอม อีกครั้ง

คุณหญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ได่เล่าไว้ถึงน้ำพริกที่เป็นเครื่องเสวยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือ “เครื่องต้น ก้นครัว” ครัวจิตรลดา ไว้ว่า

“ก็เป็นน้ำพริกมะขามบ้าง น้ำพริกมะขือพวงบ้าง น้ำพริกหนำเลี๊ยบ หรือบางทีก็น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกกะปิปลาทูทอดนั้น เฉพาะอย่างยิ่งปลาทูพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมาก เสวยได้บ่อยๆ ก่อนจะตั้งก็ต้องแกะก้างออกให้หมด ส่วนเครื่องจิ้มก็เป็นผักสดชุบไข่ทอด ผักดอง ขิงดอง เราต้องดองเองค่ะ หรือถ้าอย่างเป็นน้ำพริกมะม่วงก็คู่กับปลาสลิด น้ำพริกมะขามสดก็ต้องเป็นกุ้งต้มที่เราต้มเองนะคะ ไม่ใช่ซื้อที่เขาต้มไว้แล้วที่ตลาด เรื่องของความสะอาดนั้นเราระวังสุดชีวิตค่ะ”

“พริกกะเกลือ”

6

คุณหญิงประสานสุข ตันติเวชกุล เคยให้สัมภาษณ์เรื่องพริกกะเกลือที่ทรงโปรดเสวยไว้ในหนังสือ “เครื่องต้น ก้นครัว” ว่า

“…หรือแม้แต่กับข้าวพื้นๆ อย่างที่ชาวบ้านนิยมกันเป็นอาหารจานโปรดด้วยเหมือนกัน หรืออีกอย่างที่ชาวบ้านอาจไม่ค่อยนิยมทำกัน แต่เป็นเครื่องต้นบ่อย และเป็นของง่ายๆ

นั่นคือ พริกกะเกลือ… เป็นชื่อเฉพาะทั้งๆที่ไม่มีพริกเลยสักเม็ดเดียว

วิธีปรุง เอามะพร้าวมาคั่วให้เหลืองหอม ถั่วลิสงคั่วด้วย แล้วเอาใส่ครกตำกับเกลือจนละเอียด เนื้อมะพร้าวนั้นจะแตกมัน ต้องระวังรสให้พอดี อย่าให้เค็มมากนัก

ถ้าตั้งพริกกะเกลือล่ะก็ ข้าวสวยต้องร้อนๆ โปรดมากเชียวค่ะ

นอกจากทุกพระองค์จะเสวยง่ายๆ ธรรมดาๆ ตั้งอะไรก็เสวยอย่างนั้น ไม่เคยมีเสียงบ่น หรือติอะไรแล้ว ยังทรงประหยัดอีกด้วย…”

“หนำเลี๊ยบผัด”

7

รูปประกอบ “ข้าวต้มกับ” จากร้านอาหารไทย The Never Ending Summer จากนิตยสาร home & decor Food Stylist; Duang-rithi Claewplodtook ช่างภาพ; Vipa Vadi

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านเสวยง่ายค่ะ เสวยได้ทุกอย่างที่ตั้งเครื่องถวาย เพียงแต่ไม่ทรงโปรดรสจัดทุกประเภทเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเกี่ยวกับอะไร ไม่ลำบากเลย ไม่หนักใจเลยค่ะ

ตัวอย่างนะคะ อย่างมื้อเช้าจะเป็นข้าวต้มสองแบบสลับกันไป ระหว่างข้าวต้มเครื่องกับข้าวต้มกับ…”

เรื่องของ ‘หนำเลี๊ยบผัด’ เป็นของชอบของนักรับประทานข้าวต้มกับทั้งนั้น คุณหญิงประสานสุขจึงให้คำอธิบาย ถึงวิธีปรุงหนำเลี๊ยบผัดที่เป็นพระเครื่องต้น ดังนี้

“หนำเลี๊ยบผัด ดิฉันลอกเปลือกแข็งออกก่อน แล้วจึงเลาะเอาแต่เนื้อมาสับ ทุบกระเทียมให้มากหน่อยแล้วเอาลงผัด เจือน้ำตาลทรายเพื่อตัดรสเค็มของเนื้อหนำเลี๊ยบ โรยด้วยกากหมูที่เราหั่นเล็กๆ เตรียมเอาไว้แล้ว ดิฉันเรียนได้ว่าทรงโปรดมาก และโปรดทุกพระองค์เลยค่ะ…”

‘ข้าวต้มเครื่อง’

8

รูปประกอบ “ข้าวต้มเครื่องจัดแบบวิทยาลัยในวังหญิง” จากปฏิทินกรุงไทยการไฟฟ้า ปี 2559 ซึ่งได้รับรางวัล “สุริยศศิธร” ประเภทปฏิทินดีเด่นด้านอนุรักษ์อาหารไทย Food Stylist; Duang-rithi Claewplodtook ช่างภาพ; Sansithi Koraviyothin

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านเสวยง่ายค่ะ เสวยได้ทุกอย่างที่ตั้งเครื่่องถวาย เพียงแต่ไม่ทรงโปรดรสจัดทุกประเภทเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเกี่ยวกับอะไร ไม่ลำบากเลย ไม่หนักใจเลยค่ะ

ตัวอย่างนะคะ อย่างมื้อเช้าจะเป็นข้าวต้มสองแบบสลับกันไป ระหว่างข้าวต้มเครื่องกับข้าวต้มกับ

…ยิ่งข้าวต้มเครื่องด้วยแล้ว ก็ธรรมดาเหมือนกันอีกแหละค่ะ ข้าวต้มกุ้ง หมู ไก่ และก็ ปลา สลับกันไป แต่ดิฉันจะปรุงแต่งให้ดูแปลกตาไป บ้าง ก็อย่างชิ้นของกุ้ง หมู ไก่ หรือปลา โดยเราจะประดิดประดอยเป็นรูปทรงต่างๆ … แล้วก็ทุกพระองค์จะทรงเสวยหมดค่ะ…

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงโปรดเสวยเพียงชามเดียว ไม่ตักเติมอีก เพราะฉะนั้นเมื่อตักทีแรก จะต้องกะให้พอดีกับภาชนะ หมดแล้วไม่ทรงเติม…พระองค์ท่านเสวยอย่างนี้ตลอดเวลา ไม่เคยเห็นตักซ้ำอีกค่ะ”

9

คุณหญิง ประสานสุข ตันติเวชกุล

ขอขอบคุณบทความ และภาพอาหารประกอบจาก คุณดวง Duang-rithi Claewplodtook , Duang-rithi Foodstylist และภาพประกอบจาก ร้าน The Never Ending Summer

 

แชะภาพ 6 สตรีทอาร์ต (Street Art) สุดประทับใจ “ภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงร.9”

1

แชะภาพ 6 สตรีทอาร์ต สุดประทับใจ!
ภาพวาดในหลวงร.9

ท่ามกลางความโศกเศร้า แต่ภาพบางภาพก็ทำให้เรายิ้มได้ ซึ่งวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปเสพงานศิลปะบนกำแพง ชมภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แบบใกล้ตาที่สุด ตามสถานที่เที่ยวต่างๆ ในเมืองไทย ว่าแล้วก็เตรียมสะพายกล้องออกไปเก็บภาพความประทับใจกันเลย

“งานศิลป์บนผนังรังสรรค์รำลึกในหลวงรัชกาลที่๙”
จ.นครศรีธรรมราช

2

แวะเที่ยวใต้เยือนถิ่นเมืองคอนกันค่ะ ที่นี่มีที่เที่ยวมากมาย สไตล์ไหนก็สนุกได้ ทั้งทะเล แม่น้ำ ภูเขา น้ำตก แต่ถ้ามีเวลาไม่มาก เราแนะนำให้ไปเดินเล่นชิคๆ เก็บบรรยากาศคลาสสิคในตัวเมือง แล้วไปถ่ายรูปสตรีทอาร์ต ภาพวาดของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งภาพพระราชกรณียกิจ และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในอิริยาบถต่างๆ ใต้โครงการ “งานศิลป์บนผนังรังสรรค์รำลึกในหลวงรัชกาลที่๙”มี 7 จุดด้วยกัน คือ ตลอดแนวถนนบ่ออ่าง โรงเรียนศรีธรรมราช หอพระสูง โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง กำแพงท่าวังพานิช มัสยิดซอลาฮุดดีน และโรงเรียนกัลยาณี โดยผลงานเหล่านี้เป็นฝีมือของศิลปิน สถาปนิก กลุ่มคนรักศิลปะ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกอาชีพ

3 4 5 6 7 8 9 10

*********************************************************************

Street Art เรื่องของพ่อ
ริมกำแพงมหาวิทยาลัยศิลปากร

11

ขอบคุณรูปภาพจาก: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ใครที่เดินผ่านไปผ่านมาแถวพระบรมมหาราชวัง หรือเข้าไปชมความวิจิตรงดงามของวัดพระแก้วอยากให้ลองหันไปมองฝั่งตรงข้ามสักหน่อย เพื่อนๆ จะสะดุดตากับภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้ง 9 ภาพ ซึ่งวาดอยู่บนผ้าใบผืนใหญ่ เรียงติดกันบนกำแพงหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์โดยศิษย์เก่า-ปัจจุบัน สาขาจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ บ้างก็เป็นภาพพระองค์เดี่ยวๆ และบ้างก็เป็นภาพคู่กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ดูแล้วอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก ถ้าใครอยากชมต้องรีบหน่อย เพราะเขาจะติดถึงแค่วันที่ 28 ตุลาคมนี้เท่านั้น ทั้งนี้นอกจากถ่ายภาพสตรีทอาร์ตด้านนอกแล้ว อย่าลืมเข้าไปถ่ายรูปด้านในมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยนะ ในนั้นเขามีมุมถ่ายรูปเก๋ๆ เยอะทีเดียว ทั้งตำหนักพรรณราย (ตึกสีเหลือง), สวนแก้ว, ศาลาดนตรีในสวนแก้ว และท้องพระโรง

12 13 14 15 16 17

*********************************************************************

“100 of Art เพื่อพ่อ” จ.ภูเก็ต

18 19

ภูเก็ต เป็นจังหวัดชิคๆ ที่ไม่ได้มีดีแค่ทะเล แต่ยังมีแลนด์มาร์กอีกแห่งคือย่านชิโนโปรตุกีส เมืองเก่าที่ถูกสะกดไว้ด้วยมนต์เสน่ห์ของความคลาสสิค ที่นี่มีคาเฟ่ฮิปๆ และอาหารอร่อยหลายร้านให้ลิ้มลอง รวมถึงมีภาพสตรีทอาร์ตสวยๆ ซุกซ่อนอยู่ให้ออกตามหาและถ่ายรูปกันอย่างสนุก หนึ่งในนั้นก็คือ “100 of Art เพื่อพ่อ” ผลงานของนักเรียน-นักศึกษา ที่ร่วมกันรังสรรค์ขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา จนเสร็จสิ้นในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 บนกำแพงบ้านเลขที่ 100 ถนนดีบุก เพื่อแสดงความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และจะคงไว้แบบนี้ตลอดไป เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ทักท่องเที่ยวควรปักหมุดมาชมด้วยตาตัวเอง

*********************************************************************

Street Art เรื่องของพ่อ
บนผนังสังกะสีย่านคลองเจ็ด ปทุมธานี

20

ขอบคุณรูปภาพจาก: Mue Bon

มาเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ กันบ้าง ที่คลองเจ็ด ปทุมธานี บริเวณชุมชนเก่า ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กเล็กๆ อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจ ที่มีผู้ใช้นามแฝงว่ามือบอน เปลี่ยนผนังสังกะสีไร้ชีวิต ให้มีสีสันด้วยภาพวาดในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอนทรงพระเยาว์ขณะทรงปั่นจักรยาน และภาพพระองค์ขณะทรงรถไฟ ทำให้ชุมชนและร้านค้าริมทางแถวนั้นกลับมาคึกคักสดใสอีกครั้งตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บอกเลยว่าใครชื่นชอบงานศิลปะริมทางแนวๆ แบบนี้ ห้ามพลาดเด็ดขาด

21 22

 

“ทุ่งดาวเรือง รวมใจภักดิ์” บานสะพรั่ง ๔๕๐,๐๐๐ ต้น

1

โอกาสครั้งประวัติศาสตร์ เปิดให้เข้าชมแล้ว

“ทุ่งดาวเรือง รวมใจภักดิ์” บานสะพรั่ง ๔๕๐,๐๐๐ ต้น

2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

พลตรี รังษี กิติญาณทรัพย์ (กลาง) ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษา ผบ.พล.๑ รอ. พันเอกวันชนะ สวัสดี (ซ้าย) พร้อมด้วย นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ (ที่ ๒ จากขวา) ประธานกรรมการบริหาร นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร (ที่ ๒ จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด และเดชาวัต อุปทินเกต (ขวา) เจ้าของสวนทองอยู่ดาวเรือง ร่วมเปิด “ทุ่งดาวเรือง รวมใจภักดิ์” ต้นดาวเรืองจำนวน ๔๕๐,๐๐๐ ต้น เต็มพื้นที่ ๕๐ ไร่ พร้อมสัญลักษณ์เลข “๙” ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นราชสักการะ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ โดยจะเปิดให้ประชาชนเข้าชม ๗ วันระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ ตำบลแก่งเสี้ยน จังหวัดกาญจนบุรี

13